วันพุธที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2552

ประกาศ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษาสุโขทัย เขต 2 เรื่อง ผลการคัดเลือกข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง ผอ./รองผอ.





ประกาศ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษาสุโขทัย เขต 2
เรื่อง ผลการคัดเลือกข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
เพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรองผู้อำนวยการสถานศึกษา
…………………………
ตามที่ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษาสุโขทัย เขต 2 ได้ประกาศรับสมัครคัดเลือก
ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรองผู้อำนวยการสถานศึกษา
ลงวันที่ 10 กันยายน 2552 นั้น
บัดนี้ การดำเนินการคัดเลือกได้เสร็จสิ้นแล้ว โดยอนุมัติ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษาสุโขทัย เขต 2 ในคราวประชุมครั้งที่ 8 / 2552 เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2552 จึงได้ประกาศผล
ผู้ได้รับการคัดเลือกเรียงตามลำดับจากผู้ได้คะแนนรวมสูงสุดจากมากไปหาน้อย มีกำหนด 2 ปี
นับแต่วันประกาศขึ้นบัญชี รายละเอียดตามบัญชีรายชื่อแนบท้ายประกาศนี้
ทั้งนี้ ให้ผู้ที่ได้รับการคัดเลือกเข้ารับการพัฒนาก่อนการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง รองผู้อำนวยสถานศึกษา ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.ค.ศ. กำหนด ในวัน เวลา และสถานที่ ที่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุโขทัย เขต 2 กำหนด ซึ่งจะแจ้งให้ทราบภายหลัง

ประกาศ ณ วันที่ 12 เดือน ตุลาคม พ.ศ. 2552


( นายประยุทธ นาวายนต์ )
อนุกรรมการและเลขานุการใน อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษา ปฏิบัติหน้าที่แทน
ประธานอนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
ประจำเขตพื้นที่การศึกษาสุโขทัย เขต 2
บัญชีรายชื่อผู้ผ่านการคัดเลือกให้ดำรงตำแหน่งรองผู้อำนวยการสถานศึกษา
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุโขทัย เขต 2
แนบท้ายประกาศการคัดเลือกผู้ดำรงตำแหน่งรองผู้อำนวยการสถานศึกษา
ลงวันที่ 12 ตุลาคม 2552
อันดับที่ เลขที่สอบ ชื่อ -สกุล หมายเหตุ

1 033 นายไพรัตน์ กลิ่นทับ
2 016 นายสารัตน์ พวงเงิน
3 009 นายวิโรจน์ บัวคง
4 010 นางหทัยรัตน์ เกษรจันทร์
5 022 นายสมบัติ ป้องฉิม
6 039 นายรัฐพล โพธิ์แก้ว
7 004 นางสาวศิริวรรณ ขวัญมุข
8 011 นางนภาศรี ทิมภูธรา
9 032 นายสาโรช เกตุสาคร
10 037 นางสาวชรินยา สุขย้อย
11 003 นายสุภัค พวงขจร
12 036 นางวาสนา ตาคม
13 015 นายชัชวาลย์ อ่ำเทศ
14 017 นายชาญวิทย์ วงศ์จักร
15 025 นางรัชนี เมืองชื่น
16 001 นายธรรมศาสตร์ ธรรมไชย
17 005 นายประทีป สันธิ
18 021 นายเยี่ยม ต้นกลั่น
19 034 นายประยุทธ ครุธแก้ว
20 030 ว่าที่ พ.ต.ทับทิม พาโคกทม
21 027 นายปิยะวุฒิ ล่องชูผล
22 038 นางสาวสุภาณี หัฐพฤติ
23 026 นายพนม สุขหา
24 013 นางราตรี สุวรรณประสิทธิ์
25 024 นางสาวนรินทร์ อินทะนัก
26 002 นายธีรพงษ์ เข็มคง
27 006 นายคมกริช จบศรี
28 028 นางสาวรัตนาวดี ทับเงิน
29 020 นางรุจิรัตน์ รัตนเพชร




ประกาศ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษาสุโขทัย เขต 2
เรื่อง ผลการคัดเลือกข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
เพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสถานศึกษา
…………………………
ตามที่ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษาสุโขทัย เขต 2 ได้ประกาศรับสมัครคัดเลือก
ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสถานศึกษา
ลงวันที่ 10 กันยายน 2552 นั้น
บัดนี้ การดำเนินการคัดเลือกได้เสร็จสิ้นแล้ว โดยอนุมัติ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษาสุโขทัย เขต 2 ในคราวประชุมครั้งที่ 8 / 2552 เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2552 จึงได้ประกาศผล
ผู้ได้รับการคัดเลือกเรียงตามลำดับจากผู้ได้คะแนนรวมสูงสุดจากมากไปหาน้อย มีกำหนด 2 ปี
นับแต่วันประกาศขึ้นบัญชี รายละเอียดตามบัญชีรายชื่อแนบท้ายประกาศนี้
ทั้งนี้ ให้ผู้ที่ได้รับการคัดเลือกเข้ารับการพัฒนาก่อนการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยสถานศึกษา ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.ค.ศ. กำหนด ในวัน เวลา และสถานที่ ที่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุโขทัย เขต 2 กำหนด ซึ่งจะแจ้งให้ทราบภายหลัง
ประกาศ ณ วันที่ 12 เดือน ตุลาคม พ.ศ. 2552

( นายประยุทธ นาวายนต์ )
อนุกรรมการและเลขานุการใน อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษา ปฏิบัติหน้าที่แทน
ประธานอนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
ประจำเขตพื้นที่การศึกษาสุโขทัย เขต 2
บัญชีรายชื่อผู้ผ่านการคัดเลือกให้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสถานศึกษา
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุโขทัย เขต 2
แนบท้ายประกาศการคัดเลือกผู้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสถานศึกษา
ลงวันที่ 12 ตุลาคม 2552
อันดับที่ เลขที่สอบ ชื่อ -สกุล หมายเหตุ


1 022 นางวาสนา สำเนียง
2 071 นายอำนวย บูรณะไทย
3 078 นายวีระศักด์ ย้อยสร้อยสุด
4 072 นายประวิท วิริยะพงษ์
5 053 นายสุวิทย์ อภิโล
6 064 นายชวลิต ทะยะ
7 067 นายอลงกรณ์ หงษ์ผ้วย
8 001 นางสาวยุพิน จงแจ่มฟ้า
9 028 นายดำรง คุ้มพาล
10 081 นายประสาน โชติมน
11 005 นายสมพร สุขอร่าม
12 025 นางกมลวรรณ ตั้งสุขสันต์
13 063 นางศิริรัตน์ แก้วทอง
14 082 นายไพบูลย์ พวงเงิน
15 026 นางชลิศา ป้องฉิม
16 014 นายพิเชฐ ขำพงศ์
17 036 นายสุรสิทธิ์ เกษประสิทธิ์
18 011 นายอนุชิต กมล
19 008 นายณฐวรรษ ยอดแก้ว
20 031 นายไพรัช เดชะศิริ
21 060 นายไพรัช อินต๊ะสงค์
22 054 นางกาบแก้ว สวยสม
23 015 นายจำเริญ สุวรรณประสิทธิ์
24 062 นายเกียรติชัย สังข์จันทร์
25 046 นายธัชพล โพธิทา
26 007 นางสายสุณีย์ ไพบูลย์กสิกรรม
27 043 นางกุณฑี วงค์จันทรมณี
28 074 นางสาวทองปลาย กมล
29 077 นายศราวุธ คำแก้ว
30 068 นายสมศักดิ์ วรรณโชค
31 034 นายอานนท์ ชาญกูล
32 042 นายธวัชชัย อินต๊ะเสาร์
33 070 นายนิคม จันทร์อิ่ม
34 069 นายมนัส เจื้อยแจ้ว
35 029 นายสมยศ ทองรัตน์
36 075 นายประธาน หาญณรงค์
37 018 นายสุชาติ หลำพรม
38 006 นางอิสรีย์ ชัยวัฒน์ดำรงสุข
39 017 นายวินัย จันทร์หอม
40 021 นายบุญชู คำรักษ์
41 050 นายสุทัศน์ หลินจริญ
42 052 นางธนวรรณ มะโนรา
43 080 นายสังวาลย์ พลอยคำ
44 002 นายมานพ หลงแย้ม
45 079 นายวัลลภ เอี่ยมมะ
46 051 นายกฤษดา แจ่มทุ่ง
47 073 นายวิลาศ ส่งให้
48 041 นายนคเรศ นิลวงศ์
49 012 นางสาวปรีเปรม เค้าอ้น
50 023 นายอานนท์ อุ่นนังกาศ
51 009 นางจิตติมนต์ อัครจรัญรัตน์
52 055 นายวสันต์ บัวหลวง
53 039 นายสมโภชน์ วรรณโชค
54 066 นางสาวจินตนา ทองแจ่ม
55 065 นางปราณี จันทราราชัย
56 010 นายสำราญ จงอยู่เย็น
57 032 นายภูษิต ภูสีโสม
58 048 นายจำเนียร ตูมหอม
59 057 นายพิรุณ กาสาย
60 019 นายประเสริฐ รุ่งเรือง
61 038 นายวัฒนา แสนคำ
62 004 นายวัชรินทร์ ฤทธิ์รักษา
63 035 นายวีระ อินทรสุวรรณ
64 016 นายสมศักดิ์ แก้วนุช
65 040 นายเทียม จรวุฒิพันธ์
66 037 นายสุพจน์ กล้าวาจา
67 020 นายอุทิศ มีเต็ม
68 045 นางสาวรวิสรา แก้วเกต
69 003 นางอารยา ปานคง
70 013 นางสาววิไลลักษณ์ ปักษี
71 049 นายโกวิทย์ บริสุทธิ์
72 024 ว่าที่ร้อยตรีสมเกียรติ ขอนทอง
ที่มา http://www.sukhothai2.go.th/main/

วันจันทร์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2552

นโยบายใหม่ๆ อ่านไว้สำหรับภาคบ่ายครับ

โรงแรมอิมพีเรียล ควีนส์ปาร์ค กรุงเทพฯ - นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานเปิดการประชุมสัมมนาผู้อำนวยการสำนักเขตพื้นที่การศึกษา (ผอ.สพท.) ครั้งที่ ๔/๒๕๕๒ เมื่อวันที่ ๒๔ กันยายน ๒๕๕๒ โดยมี ผอ.สพท.๑๘๕ เขต และประธานศูนย์ประสานงานการจัดการมัธยมศึกษา ๔๑ แห่งทั่วประเทศ รวมทั้งผู้บริหารสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) เข้าร่วมประชุมสัมมนาเป็นเวลา ๒ วัน

รมว.ศธ.ได้มอบนโยบายแก่ ผอ.สพท. และประธานศูนย์ประสานงานการจัดการมัธยมศึกษาทั่วประเทศ โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้

๑. ทิศทางกรอบการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่ ๒ มีเป้าหมายคือ ทำให้คนไทยได้เรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างมีคุณภาพ เน้นคุณภาพ การขยายโอกาส และการแสวงหาการมีส่วนร่วม เน้น ๔ ใหม่ คือ คนไทยยุคใหม่ ครูยุคใหม่ ระบบบริหารจัดการแบบใหม่ และแหล่งเรียนรู้และสถานศึกษายุคใหม่ โดยมีคณะกรรมการขับเคลื่อน ๒ ชุด ได้แก่ คณะกรรมการนโยบายปฏิรูปการศึกษาทศวรรษที่ ๒ มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการเป็นรองประธาน และคณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษารอบ ๒ มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการเป็นประธาน

๒. โครงการ ๕ ฟรี ได้แก่ โครงการเรียนฟรี ๑๕ ปีอย่างมีคุณภาพ, โครงการติวฟรีอย่างมีคุณภาพ (Tutor Channel), โครงการดื่มนมโรงเรียนฟรี, โครงการอาหารกลางวันฟรี และโครงการผู้พิการเรียนฟรีถึงระดับปริญญาตรี ทั้งมหาวิทยาลัยของรัฐและมหาวิทยาลัยเอกชน รวมถึงในระดับ ปวส. และ ปวท. ทั้งวิทยาลัยของรัฐและวิทยาลัยเอกชน

๓. โครงการไทยเข้มแข็ง (SP2) ขอให้เร่งรัดดำเนินการทุกโครงการ เนื่องจากขณะนี้งบประมาณอยู่ที่กระทรวงการคลังแล้ว และขอให้ดำเนินการอย่างโปร่งใส โดยมีโครงการที่ต้องดูแล เป็นพิเศษ ดังนี้
- โครงการโรงเรียนดี ๓ ระดับ จำนวน ๑๐,๐๐๐ โรง โดยมีรายละเอียดในระบบบริหารจัดการ ธรรมาภิบาล การกระจายอำนาจ รวมถึงปัจจัยพื้นฐาน การปรับปรุงพัฒนาอาคาร ภูมิทัศน์- โครงการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง ต้องเข้าถึงโรงเรียนอย่างน้อย ๓,๐๐๐ โรง- โรงเรียนในพื้นที่ห่างไกล ทุรกันดาร ศธ.ได้จัดงบประมาณให้ โรงเรียนละ ๑๗๐,๐๐๐ บาท นอกจากนี้จะทำการเพิ่มบ้านพักครู และเรือนนอนของนักเรียน โดย รมว.ศธ.ได้เน้นย้ำให้ช่วยดูแลเรื่องความปลอดภัยของนักเรียนเป็นพิเศษ และหากพื้นที่ใดเกิดปัญหาขึ้น ต้องมีการลงโทษอย่างเด็ดขาด- ห้องสมุด ๓ดี จะมีคอมพิวเตอร์เพื่อใช้ e-book ให้กับทุกโรงเรียน จำนวน ๓๒,๐๐๐ โรงทั่วประเทศ อาจต้องมีการตั้งคณะกรรมการเพื่อพิจารณาการเลือกซื้อหนังดีเข้าห้องสมุด แต่อย่างน้อยห้องสมุด ๓ดี ทุกแห่ง ต้องมีหนังสือพระราชทานของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ๖ เล่ม และหนังสืออื่นๆ สพฐ.จะช่วยพิจารณาหนังสือ เพื่อเป็นหลักประกันว่าเด็กจะได้อ่านหนังสือที่มีคุณค่าครบถ้วน นอกเหนือจากนั้นอาจเป็นดุลยพินิจของแต่ละโรงเรียนก็ได้ และได้มอบให้แต่ละโรงเรียนเป็นผู้ดำเนินการ โดยมีเกณฑ์กำหนดราคาตามที่ สพฐ. พิจารณา- โครงการจัดซื้อคอมพิวเตอร์ เพื่อปรับสัดส่วนนักเรียนกับคอมพิวเตอร์ จาก ๔๐:๑ เป็น ๑๐:๑ จึงเป็นที่มาที่จะต้องซื้อคอมพิวเตอร์ ๔๐๐,๐๐๐ เครื่อง ให้กับโรงเรียน ๑๘,๐๐๐ โรงทั่วประเทศ โดยให้โรงเรียนเป็นผู้ดำเนินการจัดซื้อเอง- การอบรมพัฒนาครู ๔๕๐,๐๐๐ คน โดยแยกเป็น ๒ ระดับ คือ ผู้บริหารและครูผู้สอนแยกตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ ซึ่งจะมีการประเมินผลทั้งก่อนและหลังการอบรม และจะมีการติดตามผล ว่าหลังการอบรมครูมีศักยภาพเพิ่มขึ้นหรือไม่ อย่างไร โดยการอบรมจะไม่ให้กระทบกับเวลาสอน และ รมว.ศธ.ได้มอบหมายให้ สพฐ.ประสานงาน ว่านอกจากพัฒนาศักยภาพตนเองแล้ว ครูสามารถนำผลการอบรมไปใช้ประโยชน์ในเรื่องใดได้บ้าง เช่น วิทยฐานะ สอบใบวิชาชีพคุรุสภา ต่ออายุใบประกอบวิชาชีพ ฯลฯ เพื่อการอบรมไม่สูญเปล่า

๔. นโยบาย ๓ดี/3D อยู่ในเงื่อนไขการประเมินของ สมศ. ด้วย จึงขอให้คิดนวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์อย่างจริงจัง

๕. การสอนทางไกล สำหรับโรงเรียนขนาดเล็ก โรงเรียนมัธยมขนาดเล็ก และโรงเรียนขยายโอกาส ที่ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของเด็กต่ำ มีคะแนน NT, O-NET ต่ำกว่าเกณฑ์เฉลี่ย ทั้งหมด ๙,๐๐๐ โรง ซึ่งจะใช้ระบบต่อยอดจากโรงเรียนวังไกลกังวล โดยจะแบ่งเป็น ๒ ระยะ คือ ระยะที่ ๑ จำนวน ๔,๐๐๐ โรง จะเริ่มในภาคการศึกษาที่ ๒ ของปีการศึกษา ๒๕๕๒ คือเดือนพฤศจิกายนนี้ และระยะที่ ๒ จำนวน ๕,๐๐๐ โรง จะเริ่มในภาคการศึกษาที่ ๑ ของปีการศึกษา ๒๕๕๓ โดยในเดือนตุลาคม จะมีการอบรมครู เพื่อให้สามารถสอนทางไกลและการบริหารจัดการภายในห้องเรียน และจะมีการทดสอบว่าผลสัมฤทธิ์เป็นอย่างไร โดยจะสอนในช่วงชั้นที่ ๒-๔

๖. แยกประถม-มัธยม รมว.ศธ.ได้ลงนามในประกาศแล้วเมื่อวันที่ ๑ สิงหาคม ๒๕๕๒ เพื่อให้มีผลในทางปฏิบัติไปพลางก่อนระหว่างรอกฎหมาย ระบบการดำเนินการโยกย้าย ให้แยกเป็นคณะกรรมการกลั่นกรอง ๒ ชุด คือ ระดับประถม มีผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่เป็นประธาน มีหัวหน้าฝ่ายบุคลากรเป็นเลขานุการ และระดับมัธยม มีผู้แทนจาก สพฐ. เป็นประธาน ประธานศูนย์ประสานงานมัธยมเป็นเลขานุการ เมื่อมีความคิดเห็นอย่างไรก็ให้นำเข้า ก.ค.ศ. สำหรับส่วนมัธยม คณะรัฐมนตรีมีมติจัดงบประมาณใน ๓ ปี ให้จำนวน ๙,๐๐๐ ล้านบาท เพื่อให้ดำเนินการเรื่องคุณภาพมัธยม

๗. นโยบายส่งเสริมการศึกษาเอกชน ทุกเขตพื้นที่จะต้องให้ความร่วมมือในการจัดระบบการนิเทศให้กับโรงเรียนเอกชนในความรับผิดชอบ ทั้งระดับประถมและมัธยม ขอให้ให้ความสำคัญกับโรงเรียนเอกชนด้วย เพราะต้องการเห็นเด็กไทยพัฒนาทั้งโรงเรียนภาครัฐและเอกชน ขณะเดียวกันต้องสนับสนุนให้เอกชนเข้ามามีส่วนช่วยในการจัดการศึกษามากขึ้น

๘. สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ มีผลสอบ O-NET ต่ำที่สุดในประเทศ ซึ่งหลังจากนี้จะมอบหมายผู้รับผิดชอบในระดับกระทรวง ๑ คน เพื่อรับผิดชอบการศึกษาในจังหวัดชายแดนภาคใต้โดยเฉพาะ และให้มีอำนาจหน้าที่ในการบริหารจัดการในเขตพื้นที่ เสมือนเป็นตัวแทนทุกหน่วยงาน ทุกองค์กรหลัก และถือเป็นตัวแทนของกระทรวงศึกษาธิการที่จะต้องดำเนินการ โดยต้องรับผิดชอบต่อผลสัมฤทธิ์ที่จะเกิดขึ้นกับชายแดนภาคใต้ในทุกเรื่อง

๙. เด็กนอกสัญชาติ กระทรวงศึกษาธิการสนับสนุน ส่งเสริม และรณรงค์ให้เด็กนอกสัญชาติได้เข้าเรียนในระบบการศึกษาของไทย มิฉะนั้นจะเกิดโรงเรียนนอกกฎหมายในพื้นที่ที่มีเด็กต่างด้าวอยู่ ซึ่งไม่ได้สอนเป็นภาษาไทย และกระทรวงศึกษาธิการจะไม่สามารถควบคุมการเรียนการสอนได้ ดังนั้น การนำเด็กเหล่านี้เข้าสู่ระบบการศึกษาของไทย เนื่องจากมีการสอนเป็นภาษาไทย และควบคุมบทเรียนได้ เพื่อให้เด็กมีความจงรักภักดีต่อประเทศไทย ซึ่ง รมว.ศธ. ได้นำประเด็นนี้เสนอเข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีแล้ว เพื่อกำหนดทิศทางการดำเนินการให้มีความชัดเจนและให้มีกฎระเบียบรองรับ

๑๐. การทะเลาะวิวาทของนักเรียน ขอให้ยึดประกาศกระทรวงศึกษาธิการ ที่ รมว.ศธ. ได้ลงนามเมื่อวันที่ ๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ เป็นหลัก สถานศึกษาและผู้ที่เกี่ยวข้องต้องเข้ามาดูแล จัดทำแผนแก้ปัญหา เมื่อเกิดปัญหาขึ้น ผู้กระทำความผิดต้องได้รับโทษทั้งทางวินัยและทางอาญา และผู้บริหารสถานศึกษาต้องร่วมรับผิดชอบ

๑๑. เรื่องที่เกี่ยวข้องกับครู วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๕๒ จะมีผลบังคับใช้ระบบใหม่ของวิทยฐานะครู ที่จะให้ความสำคัญกับการเรียนการสอนหรือผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนการสอนมากขึ้น ๖๐% และให้ความสำคัญกับการทำเอกสาร ๔๐% และเป็นเอกสารวิจัยที่ทำในห้องเรียน ที่ต้องเกี่ยวข้องกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กรณียื่นวิทยฐานะไว้แล้วและมีการเปลี่ยนสายงาน ไม่ต้องเริ่มนับหนึ่งใหม่ ส่วนโครงสร้างเงินเดือนใหม่ ปรับจากระบบซีเป็นระบบแท่ง เมื่อมีผลบังคับใช้ก็จะทำให้เงินเดือนขั้นสูงเพิ่มขึ้น ๘% รวมทั้งการปรับเพดานครู ค.ศ.๓ และ ค.ศ.๔ ที่เงินเดือนเต็มขั้น จะมีการปรับแท่งเงินเดือนที่สูงขึ้น ครู ค.ศ.๓ จะได้รับเงินเดือนจาก ๔๗,๔๕๐ บาท เป็น ๕๐,๕๕๐ บาท และ ครู ค.ศ.๔ จาก ๕๐,๕๕๐ บาท เป็น ๕๗,๙๔๐ บาท ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างรอการประกาศในราชกิจจานุเบกษา
- โครงการคืนครูให้นักเรียน ตั้งแต่เดือนตุลาคมเป็นต้นไป จะได้ปรับเงินเดือนตามวุฒิปริญญาตรี นอกจากนี้ จะจัดงบให้ภารโรง ๗,๘๐๐ อัตรา โดยให้โรงเรียนเป็นผู้เลือกจ้างได้เองตามความเหมาะสม เพื่อไม่ให้เป็นภาระผูกพัน หากทำงานไม่ดีก็ปรับเปลี่ยนได้ แต่ทั้งนี้ ต้องมีธรรมาภิบาล- การเลือกผู้แทนครูที่จะเข้ามาเป็นตัวแทน อ.ก.ค.ศ. จะมี ผลให้มีการปรับระบบใหม่ ๒ ประเด็น คือ ก.ค.ศ. จากเดิม ๗:๗:๗:๗ เป็น ๙:๙:๙:๙ และเดิมผู้มีสิทธิ์สมัครกับผู้มีสิทธิ์เลือกคือผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ต่อไปให้ผู้มีสิทธิ์เลือกเพิ่ม นอกจากผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่แล้ว รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่และเจ้าหน้าที่บริหารก็มีสิทธิ์เลือกด้วย โดยขอให้การเลือกเป็นไปอย่างบริสุทธิ์ยุติธรรม

๑๒. ช.พ.ค.๕ ศธ.ต้องการรักษาผลประโยชน์และให้ครูได้รับผลประโยชน์มากขึ้น ซึ่งเดิมมีการบังคับทำประกันชีวิต, ดอกเบี้ย MLR ซึ่งมีเงื่อนไขว่าหากผู้กู้เป็นลูกหนี้ชั้นดี ธนาคารออมสินจะลดดอกเบี้ยให้ ๑% แต่ ๑% นี้ ยกให้ สกสค. มีการบังคับลงทุน ๑๐,๐๐๐ บาท สมทบเข้ากองทุน สกสค. จึงให้ สกสค.ไปทบทวนปรับเกณฑ์ใหม่ เพื่อให้ได้ผลในทางที่ดีขึ้นคือ ไม่บังคับทำประกันชีวิต ให้เป็นไปตามความสมัครใจของครูผู้กู้ สำหรับครูที่เป็นลูกหนี้ชั้นดีจะได้รับการลดดอกเบี้ย ๑% และไม่บังคับลงทุน ๑๐,๐๐๐ บาท

รมว.ศธ. กล่าวสรุปว่า กำลังจะมีการปรับกระบวนการครั้งสำคัญของกระทรวงศึกษาธิการในหลายเรื่อง ที่จะเดินหน้าไปสู่กระบวนการสร้างคุณภาพทั้งระบบ โดยจะลดระบบการสอนแบบท่องจำ แต่จะเพิ่มการคิดวิเคราะห์ให้มากขึ้น ให้เด็กมีโอกาสเรียนนอกห้องเรียนมากขึ้น การเรียนการสอนและการออกข้อสอบที่ สทศ. ออกต้องสอดคล้องกัน มิเช่นนั้นนักเรียนก็จะต้องเรียนกวดวิชา ส่วน สพฐ. กับมหาวิทยาลัยก็ต้องหารือกันเพื่อผลิตเด็กในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อป้อนมหาวิทยาลัยมีคุณสมบัติตรงกับที่มหาวิทยาลัยต้องการ และมหาวิทยาลัยก็ต้องผลิตบัณฑิตให้ตรงตามความต้องการของตลาด.
นโยบายใหม่ๆ อ่านไว้สำหรับภาคบ่ายครับ

โรงแรมอิมพีเรียล ควีนส์ปาร์ค กรุงเทพฯ - นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานเปิดการประชุมสัมมนาผู้อำนวยการสำนักเขตพื้นที่การศึกษา (ผอ.สพท.) ครั้งที่ ๔/๒๕๕๒ เมื่อวันที่ ๒๔ กันยายน ๒๕๕๒ โดยมี ผอ.สพท.๑๘๕ เขต และประธานศูนย์ประสานงานการจัดการมัธยมศึกษา ๔๑ แห่งทั่วประเทศ รวมทั้งผู้บริหารสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) เข้าร่วมประชุมสัมมนาเป็นเวลา ๒ วัน

รมว.ศธ.ได้มอบนโยบายแก่ ผอ.สพท. และประธานศูนย์ประสานงานการจัดการมัธยมศึกษาทั่วประเทศ โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้

๑. ทิศทางกรอบการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่ ๒ มีเป้าหมายคือ ทำให้คนไทยได้เรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างมีคุณภาพ เน้นคุณภาพ การขยายโอกาส และการแสวงหาการมีส่วนร่วม เน้น ๔ ใหม่ คือ คนไทยยุคใหม่ ครูยุคใหม่ ระบบบริหารจัดการแบบใหม่ และแหล่งเรียนรู้และสถานศึกษายุคใหม่ โดยมีคณะกรรมการขับเคลื่อน ๒ ชุด ได้แก่ คณะกรรมการนโยบายปฏิรูปการศึกษาทศวรรษที่ ๒ มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการเป็นรองประธาน และคณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษารอบ ๒ มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการเป็นประธาน

๒. โครงการ ๕ ฟรี ได้แก่ โครงการเรียนฟรี ๑๕ ปีอย่างมีคุณภาพ, โครงการติวฟรีอย่างมีคุณภาพ (Tutor Channel), โครงการดื่มนมโรงเรียนฟรี, โครงการอาหารกลางวันฟรี และโครงการผู้พิการเรียนฟรีถึงระดับปริญญาตรี ทั้งมหาวิทยาลัยของรัฐและมหาวิทยาลัยเอกชน รวมถึงในระดับ ปวส. และ ปวท. ทั้งวิทยาลัยของรัฐและวิทยาลัยเอกชน

๓. โครงการไทยเข้มแข็ง (SP2) ขอให้เร่งรัดดำเนินการทุกโครงการ เนื่องจากขณะนี้งบประมาณอยู่ที่กระทรวงการคลังแล้ว และขอให้ดำเนินการอย่างโปร่งใส โดยมีโครงการที่ต้องดูแล เป็นพิเศษ ดังนี้
- โครงการโรงเรียนดี ๓ ระดับ จำนวน ๑๐,๐๐๐ โรง โดยมีรายละเอียดในระบบบริหารจัดการ ธรรมาภิบาล การกระจายอำนาจ รวมถึงปัจจัยพื้นฐาน การปรับปรุงพัฒนาอาคาร ภูมิทัศน์- โครงการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง ต้องเข้าถึงโรงเรียนอย่างน้อย ๓,๐๐๐ โรง- โรงเรียนในพื้นที่ห่างไกล ทุรกันดาร ศธ.ได้จัดงบประมาณให้ โรงเรียนละ ๑๗๐,๐๐๐ บาท นอกจากนี้จะทำการเพิ่มบ้านพักครู และเรือนนอนของนักเรียน โดย รมว.ศธ.ได้เน้นย้ำให้ช่วยดูแลเรื่องความปลอดภัยของนักเรียนเป็นพิเศษ และหากพื้นที่ใดเกิดปัญหาขึ้น ต้องมีการลงโทษอย่างเด็ดขาด- ห้องสมุด ๓ดี จะมีคอมพิวเตอร์เพื่อใช้ e-book ให้กับทุกโรงเรียน จำนวน ๓๒,๐๐๐ โรงทั่วประเทศ อาจต้องมีการตั้งคณะกรรมการเพื่อพิจารณาการเลือกซื้อหนังดีเข้าห้องสมุด แต่อย่างน้อยห้องสมุด ๓ดี ทุกแห่ง ต้องมีหนังสือพระราชทานของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ๖ เล่ม และหนังสืออื่นๆ สพฐ.จะช่วยพิจารณาหนังสือ เพื่อเป็นหลักประกันว่าเด็กจะได้อ่านหนังสือที่มีคุณค่าครบถ้วน นอกเหนือจากนั้นอาจเป็นดุลยพินิจของแต่ละโรงเรียนก็ได้ และได้มอบให้แต่ละโรงเรียนเป็นผู้ดำเนินการ โดยมีเกณฑ์กำหนดราคาตามที่ สพฐ. พิจารณา- โครงการจัดซื้อคอมพิวเตอร์ เพื่อปรับสัดส่วนนักเรียนกับคอมพิวเตอร์ จาก ๔๐:๑ เป็น ๑๐:๑ จึงเป็นที่มาที่จะต้องซื้อคอมพิวเตอร์ ๔๐๐,๐๐๐ เครื่อง ให้กับโรงเรียน ๑๘,๐๐๐ โรงทั่วประเทศ โดยให้โรงเรียนเป็นผู้ดำเนินการจัดซื้อเอง- การอบรมพัฒนาครู ๔๕๐,๐๐๐ คน โดยแยกเป็น ๒ ระดับ คือ ผู้บริหารและครูผู้สอนแยกตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ ซึ่งจะมีการประเมินผลทั้งก่อนและหลังการอบรม และจะมีการติดตามผล ว่าหลังการอบรมครูมีศักยภาพเพิ่มขึ้นหรือไม่ อย่างไร โดยการอบรมจะไม่ให้กระทบกับเวลาสอน และ รมว.ศธ.ได้มอบหมายให้ สพฐ.ประสานงาน ว่านอกจากพัฒนาศักยภาพตนเองแล้ว ครูสามารถนำผลการอบรมไปใช้ประโยชน์ในเรื่องใดได้บ้าง เช่น วิทยฐานะ สอบใบวิชาชีพคุรุสภา ต่ออายุใบประกอบวิชาชีพ ฯลฯ เพื่อการอบรมไม่สูญเปล่า

๔. นโยบาย ๓ดี/3D อยู่ในเงื่อนไขการประเมินของ สมศ. ด้วย จึงขอให้คิดนวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์อย่างจริงจัง

๕. การสอนทางไกล สำหรับโรงเรียนขนาดเล็ก โรงเรียนมัธยมขนาดเล็ก และโรงเรียนขยายโอกาส ที่ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของเด็กต่ำ มีคะแนน NT, O-NET ต่ำกว่าเกณฑ์เฉลี่ย ทั้งหมด ๙,๐๐๐ โรง ซึ่งจะใช้ระบบต่อยอดจากโรงเรียนวังไกลกังวล โดยจะแบ่งเป็น ๒ ระยะ คือ ระยะที่ ๑ จำนวน ๔,๐๐๐ โรง จะเริ่มในภาคการศึกษาที่ ๒ ของปีการศึกษา ๒๕๕๒ คือเดือนพฤศจิกายนนี้ และระยะที่ ๒ จำนวน ๕,๐๐๐ โรง จะเริ่มในภาคการศึกษาที่ ๑ ของปีการศึกษา ๒๕๕๓ โดยในเดือนตุลาคม จะมีการอบรมครู เพื่อให้สามารถสอนทางไกลและการบริหารจัดการภายในห้องเรียน และจะมีการทดสอบว่าผลสัมฤทธิ์เป็นอย่างไร โดยจะสอนในช่วงชั้นที่ ๒-๔

๖. แยกประถม-มัธยม รมว.ศธ.ได้ลงนามในประกาศแล้วเมื่อวันที่ ๑ สิงหาคม ๒๕๕๒ เพื่อให้มีผลในทางปฏิบัติไปพลางก่อนระหว่างรอกฎหมาย ระบบการดำเนินการโยกย้าย ให้แยกเป็นคณะกรรมการกลั่นกรอง ๒ ชุด คือ ระดับประถม มีผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่เป็นประธาน มีหัวหน้าฝ่ายบุคลากรเป็นเลขานุการ และระดับมัธยม มีผู้แทนจาก สพฐ. เป็นประธาน ประธานศูนย์ประสานงานมัธยมเป็นเลขานุการ เมื่อมีความคิดเห็นอย่างไรก็ให้นำเข้า ก.ค.ศ. สำหรับส่วนมัธยม คณะรัฐมนตรีมีมติจัดงบประมาณใน ๓ ปี ให้จำนวน ๙,๐๐๐ ล้านบาท เพื่อให้ดำเนินการเรื่องคุณภาพมัธยม

๗. นโยบายส่งเสริมการศึกษาเอกชน ทุกเขตพื้นที่จะต้องให้ความร่วมมือในการจัดระบบการนิเทศให้กับโรงเรียนเอกชนในความรับผิดชอบ ทั้งระดับประถมและมัธยม ขอให้ให้ความสำคัญกับโรงเรียนเอกชนด้วย เพราะต้องการเห็นเด็กไทยพัฒนาทั้งโรงเรียนภาครัฐและเอกชน ขณะเดียวกันต้องสนับสนุนให้เอกชนเข้ามามีส่วนช่วยในการจัดการศึกษามากขึ้น

๘. สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ มีผลสอบ O-NET ต่ำที่สุดในประเทศ ซึ่งหลังจากนี้จะมอบหมายผู้รับผิดชอบในระดับกระทรวง ๑ คน เพื่อรับผิดชอบการศึกษาในจังหวัดชายแดนภาคใต้โดยเฉพาะ และให้มีอำนาจหน้าที่ในการบริหารจัดการในเขตพื้นที่ เสมือนเป็นตัวแทนทุกหน่วยงาน ทุกองค์กรหลัก และถือเป็นตัวแทนของกระทรวงศึกษาธิการที่จะต้องดำเนินการ โดยต้องรับผิดชอบต่อผลสัมฤทธิ์ที่จะเกิดขึ้นกับชายแดนภาคใต้ในทุกเรื่อง

๙. เด็กนอกสัญชาติ กระทรวงศึกษาธิการสนับสนุน ส่งเสริม และรณรงค์ให้เด็กนอกสัญชาติได้เข้าเรียนในระบบการศึกษาของไทย มิฉะนั้นจะเกิดโรงเรียนนอกกฎหมายในพื้นที่ที่มีเด็กต่างด้าวอยู่ ซึ่งไม่ได้สอนเป็นภาษาไทย และกระทรวงศึกษาธิการจะไม่สามารถควบคุมการเรียนการสอนได้ ดังนั้น การนำเด็กเหล่านี้เข้าสู่ระบบการศึกษาของไทย เนื่องจากมีการสอนเป็นภาษาไทย และควบคุมบทเรียนได้ เพื่อให้เด็กมีความจงรักภักดีต่อประเทศไทย ซึ่ง รมว.ศธ. ได้นำประเด็นนี้เสนอเข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีแล้ว เพื่อกำหนดทิศทางการดำเนินการให้มีความชัดเจนและให้มีกฎระเบียบรองรับ

๑๐. การทะเลาะวิวาทของนักเรียน ขอให้ยึดประกาศกระทรวงศึกษาธิการ ที่ รมว.ศธ. ได้ลงนามเมื่อวันที่ ๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ เป็นหลัก สถานศึกษาและผู้ที่เกี่ยวข้องต้องเข้ามาดูแล จัดทำแผนแก้ปัญหา เมื่อเกิดปัญหาขึ้น ผู้กระทำความผิดต้องได้รับโทษทั้งทางวินัยและทางอาญา และผู้บริหารสถานศึกษาต้องร่วมรับผิดชอบ

๑๑. เรื่องที่เกี่ยวข้องกับครู วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๕๒ จะมีผลบังคับใช้ระบบใหม่ของวิทยฐานะครู ที่จะให้ความสำคัญกับการเรียนการสอนหรือผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนการสอนมากขึ้น ๖๐% และให้ความสำคัญกับการทำเอกสาร ๔๐% และเป็นเอกสารวิจัยที่ทำในห้องเรียน ที่ต้องเกี่ยวข้องกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กรณียื่นวิทยฐานะไว้แล้วและมีการเปลี่ยนสายงาน ไม่ต้องเริ่มนับหนึ่งใหม่ ส่วนโครงสร้างเงินเดือนใหม่ ปรับจากระบบซีเป็นระบบแท่ง เมื่อมีผลบังคับใช้ก็จะทำให้เงินเดือนขั้นสูงเพิ่มขึ้น ๘% รวมทั้งการปรับเพดานครู ค.ศ.๓ และ ค.ศ.๔ ที่เงินเดือนเต็มขั้น จะมีการปรับแท่งเงินเดือนที่สูงขึ้น ครู ค.ศ.๓ จะได้รับเงินเดือนจาก ๔๗,๔๕๐ บาท เป็น ๕๐,๕๕๐ บาท และ ครู ค.ศ.๔ จาก ๕๐,๕๕๐ บาท เป็น ๕๗,๙๔๐ บาท ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างรอการประกาศในราชกิจจานุเบกษา
- โครงการคืนครูให้นักเรียน ตั้งแต่เดือนตุลาคมเป็นต้นไป จะได้ปรับเงินเดือนตามวุฒิปริญญาตรี นอกจากนี้ จะจัดงบให้ภารโรง ๗,๘๐๐ อัตรา โดยให้โรงเรียนเป็นผู้เลือกจ้างได้เองตามความเหมาะสม เพื่อไม่ให้เป็นภาระผูกพัน หากทำงานไม่ดีก็ปรับเปลี่ยนได้ แต่ทั้งนี้ ต้องมีธรรมาภิบาล- การเลือกผู้แทนครูที่จะเข้ามาเป็นตัวแทน อ.ก.ค.ศ. จะมี ผลให้มีการปรับระบบใหม่ ๒ ประเด็น คือ ก.ค.ศ. จากเดิม ๗:๗:๗:๗ เป็น ๙:๙:๙:๙ และเดิมผู้มีสิทธิ์สมัครกับผู้มีสิทธิ์เลือกคือผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ต่อไปให้ผู้มีสิทธิ์เลือกเพิ่ม นอกจากผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่แล้ว รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่และเจ้าหน้าที่บริหารก็มีสิทธิ์เลือกด้วย โดยขอให้การเลือกเป็นไปอย่างบริสุทธิ์ยุติธรรม

๑๒. ช.พ.ค.๕ ศธ.ต้องการรักษาผลประโยชน์และให้ครูได้รับผลประโยชน์มากขึ้น ซึ่งเดิมมีการบังคับทำประกันชีวิต, ดอกเบี้ย MLR ซึ่งมีเงื่อนไขว่าหากผู้กู้เป็นลูกหนี้ชั้นดี ธนาคารออมสินจะลดดอกเบี้ยให้ ๑% แต่ ๑% นี้ ยกให้ สกสค. มีการบังคับลงทุน ๑๐,๐๐๐ บาท สมทบเข้ากองทุน สกสค. จึงให้ สกสค.ไปทบทวนปรับเกณฑ์ใหม่ เพื่อให้ได้ผลในทางที่ดีขึ้นคือ ไม่บังคับทำประกันชีวิต ให้เป็นไปตามความสมัครใจของครูผู้กู้ สำหรับครูที่เป็นลูกหนี้ชั้นดีจะได้รับการลดดอกเบี้ย ๑% และไม่บังคับลงทุน ๑๐,๐๐๐ บาท

รมว.ศธ. กล่าวสรุปว่า กำลังจะมีการปรับกระบวนการครั้งสำคัญของกระทรวงศึกษาธิการในหลายเรื่อง ที่จะเดินหน้าไปสู่กระบวนการสร้างคุณภาพทั้งระบบ โดยจะลดระบบการสอนแบบท่องจำ แต่จะเพิ่มการคิดวิเคราะห์ให้มากขึ้น ให้เด็กมีโอกาสเรียนนอกห้องเรียนมากขึ้น การเรียนการสอนและการออกข้อสอบที่ สทศ. ออกต้องสอดคล้องกัน มิเช่นนั้นนักเรียนก็จะต้องเรียนกวดวิชา ส่วน สพฐ. กับมหาวิทยาลัยก็ต้องหารือกันเพื่อผลิตเด็กในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อป้อนมหาวิทยาลัยมีคุณสมบัติตรงกับที่มหาวิทยาลัยต้องการ และมหาวิทยาลัยก็ต้องผลิตบัณฑิตให้ตรงตามความต้องการของตลาด.

วันอังคารที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

ด่วน! สพฐ.ประกาศสอบภาค ก ผอ.ร.ร./รอง ผอ.ร.ร.

ด่วน! สพฐ.ประกาศสอบภาค ก ผอ.ร.ร.และรอง ผอ.ร.ร. สมัคร 29 ก.ค.-2 ส.ค.นี้+โพสต์เมื่อวันที่ : 21 ก.ค. 2552
.....

ประกาศรับสมัคร+รายละเอียดเพิ่มเติมที่นี่
ที่มาhttp://www.kroobannok.com/15842

วันอังคารที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

สมรรถนะผู้บริหาร

สมรรถนะผู้บริหาร
สมรรถนะหลัก
1. การมุ่งผลสัมฤทธิ์ :ความมุ่งมั่นในการปฏิบัติงานในหน้าที่ให้มีคุณภาพ ถูกต้องครบถ้วนสมบูรณ์ มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และมีการพัฒนาผลงานให้มีคุณภาพอย่างต่อเนื่อง
1.1 คุณภาพงานด้านความถูกต้อง ครบถ้วนสมบูรณ์
1.2 ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์การนำนวัตกรรม/ทางเลือกใหม่ ๆ มาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของงาน
1.3 ความมุ่งมั่นในการพัฒนาผลงานอย่างต่อเนื่อง

4--ผลงานมีความถูกต้อง ครบถ้วนสมบูรณ์เกือบทุกรายการ และเป็นแบบอย่างได้
4--มีการทดลองวิธีการหรือจัดทำคู่มือประกอบการพัฒนางานใหม่ ๆโดย มีการจัดทำรายงานการพัฒนาที่เป็นรูปธรรม ชัดเจน และมีการเผยแพร่ในวงกว้าง
4--มุ่งมั่น กระตือรือร้นในการพัฒนาผลงานทุกรายการที่ได้รับมอบหมายจนปรากฏ ผลงานที่มีคุณภาพ เป็นที่ยอมรับในองค์กรและนอกองค์กรที่เกี่ยวข้อง


2. การบริการที่ดี :ความตั้งใจในการปรับปรุงระบบบริการให้มีประสิทธิภาพเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ใช้บริการ
2.1 การปรับปรุงระบบบริการ
2.2 ความพึงพอใจของผู้รับบริการหรือผู้เกี่ยวข้อง

4--ศึกษาความต้องการของผู้รับบริการนำข้อมูลมา ปรับปรุงและพัฒนาระบบบริการในเกือบทุกรายการ อย่างต่อเนื่อง
4--ผู้รับบริการร้อยละ 80 ขึ้นไป มีความพึงพอใจระดับมาก


3. การพัฒนาตนเอง :การศึกษา ค้นคว้า หาความรู้ ติดตามองค์ความรู้และเทคโนโลยีใหม่ ๆในวงวิชาการและวิชาชีพ เพื่อพัฒนาตนเองและพัฒนางาน
3.1 การศึกษา ค้นคว้า หาความรู้ด้วยการเข้าประชุมทางวิชาการอบรม สัมมนา หรือวิธีการอื่น ๆ
3.2 การรวบรวมและประมวลความรู้ในการพัฒนาองค์กรและวิชาชีพ
3.3 การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นด้านวิชาการในหมู่เพื่อนร่วมงาน

4--มีชั่วโมงเข้าประชุม อบรม สัมมนาไม่น้อยกว่า 20 ชั่วโมง/ปี และมีการจัดทำเอกสารนำเสนอต่อที่ประชุมเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างน้อย 2 รายการ/ปี
4--มีการสังเคราะห์ข้อมูลความรู้ จัดเป็นหมวดหมู่ ปรับปรุงให้ทันสมัย รวบรวมองค์ความรู้สำคัญ เพื่อใช้ในการพัฒนางานอย่างต่อเนื่อง
4--เข้าประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ภายในหน่วยงาน ร้อยละ 80 ขึ้นไปของจำนวนกิจกรรมที่หน่วยงานจัด


4. การทำงานเป็นทีม :การให้ความร่วมมือ ช่วยเหลือสนับสนุน เสริมแรง ให้กำลังใจแก่เพื่อนร่วมงาน การปรับตัวเข้ากับบุคคลอื่นหรือ แสดงบทบาทผู้นำ ผู้ตามได้อย่างเหมาะสม
4.1 การให้ความร่วมมือ ช่วยเหลือสนับสนุนเพื่อนร่วมงาน
4.2 การแสดงบทบาทผู้นำหรือผู้ตามได้อย่างเหมาะสม
4.3 การปรับตัวเข้ากับสถานการณ์และกลุ่มคนที่หลากหลาย
4.4 การเสริมแรง ให้กำลังใจส่งเสริม สนับสนุนเพื่อนร่วมงานในการปฏิบัติงาน

4--ให้ความร่วมมือ ช่วยเหลือ สนับสนุน เพื่อนร่วมงาน สม่ำเสมอเกือบทุกครั้ง
4--แสดงบทบาทผู้นำ/ผู้ตามในการทำงานร่วมกับผู้อื่น อย่างเหมาะสมเกือบทุกโอกาส/สถานการณ์
4--ใช้ทักษะการบริหารจัดการในการทำงานร่วมกับบุคคล หรือคณะบุคคลในหน่วยงานของตนและต่างหน่วยงานได้ทุกกลุ่มอย่างมีประสิทธิภาพในเกือบทุกสถานการณ์
4--ให้เกียรติ ยกย่อง ชมเชย ให้กำลังใจเพื่อนร่วมงานในโอกาสที่เหมาะสม เกือบทุกครั้ง

สมรรถนะสายงาน
5. การวิเคราะห์และสังเคราะห์ :ความสามารถในการทำความเข้าใจสิ่งต่าง ๆ แล้วแยกประเด็นเป็นส่วนย่อยตามหลักการหรือกฎเกณฑ์ที่กำหนด

สามารถรวบรวมสิ่งต่างๆ จัดทำอย่างเป็นระบบ เพื่อแก้ปัญหาหรือพัฒนางาน รวมทั้ง สามารถวิเคราะห์องค์กรหรืองานในภาพรวมและดำเนินการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ
5.1 การวิเคราะห์สภาพปัจจุบันปัญหา ความต้องการของงานและเสนอทางเลือกหรือแนวทางป้องกัน แก้ไขปัญหางานในความรับผิดชอบ
5.2 ความเหมาะสมของแผนงาน/โครงการในความรับผิดชอบ
5.3 ความคิดเชิงระบบในการแก้ปัญหาหรือพัฒนางาน

4--ระบุสภาพปัจจุบัน ปัญหา ความต้องการของงาน และแนวทางการป้องกัน แก้ไขปัญหาที่หลากหลายและปฏิบัติได้ โดยมีการบันทึกไว้เป็นหลักฐาน
4--องค์ประกอบของแผนงาน/โครงการมีความสอดคล้องสัมพันธ์กันทุกองค์ประกอบและสอดคล้องกับนโยบาย/ ยุทธศาสตร์การพัฒนาองค์กร และมีการระบุตัวชี้วัดความสำเร็จอย่างชัดเจน
4--มีการวิเคราะห์จุดเด่น จุดด้อย ภาวะคุกคาม หรือโอกาสความสำเร็จของงานหรือองค์กร จัดทำแผนงาน/โครงการรองรับ ดำเนินกิจกรรมและประเมินผลการแก้ปัญหาหรือพัฒนางาน โดยนำผลการประเมินไปใช้พัฒนางานอย่างต่อเนื่อง


6. การสื่อสารและจูงใจ :ความสามารถในการพูด เขียนสื่อสาร โต้ตอบ ในโอกาสและสถานการณ์ต่าง ๆ ตลอดจน สามารถชักจูง โน้มน้าวให้ผู้อื่น เห็นด้วย ยอมรับคล้อยตาม เพื่อบรรลุจุดมุ่งหมายของการสื่อสาร
6.1 ความสามารถในการพูด และเขียนในโอกาสต่าง ๆ
6.2 ความสามารถในการสื่อสารผ่านสื่อเทคโนโลยี
6.3 ความสามารถในการจูงใจโน้มน้าวให้ผู้อื่นเห็นด้วยยอมรับ คล้อยตาม เพื่อบรรลุจุดมุ่งหมายของการสื่อสาร

4--พูด เขียน สื่อสาร โต้ตอบ ในโอกาสต่างๆ ให้ผู้อื่นเข้าใจได้อย่างรวดเร็วและชัดเจนเกือบทุกครั้ง
4--สามารถสืบค้นข้อมูลผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต และสามารถนำเสนอผลงานโดยใช้สื่อเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ ได้ด้วยตนเอง
4--สามารถนำเสนอข้อมูลสารสนเทศในด้านแนวคิด หลักวิชาเพื่อพูดโน้มน้าว พูดจูงใจให้ผู้อื่นคล้อยตามเพื่อบรรลุจุดมุ่งหมายของการสื่อสาร เกือบทุกสถานการณ์


7. การพัฒนาศักยภาพบุคลากร :ความสามารถในการให้คำปรึกษาแนะนำ และช่วยแก้ปัญหาให้แก่เพื่อนร่วมงานและผู้เกี่ยวข้อง มีส่วนร่วมในการพัฒนา บุคลากร ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่าง รวมทั้งส่งเสริมสนับสนุนและ ให้โอกาสผู้ร่วมงานได้พัฒนา ในรูปแบบต่าง ๆ
7.1 การให้คำปรึกษา แนะนำและช่วยแก้ปัญหาแก่เพื่อนร่วมงานและผู้เกี่ยวข้อง
7.2 การมีส่วนร่วมในการพัฒนาบุคลากร
7.3 ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างและสร้างเครือข่ายพัฒนาบุคลากร
7.4 การส่งเสริม สนับสนุนและให้โอกาสเพื่อนร่วมงานได้พัฒนาในรูปแบบ ต่าง ๆ

4--ให้คำแนะนำ เสนอทางเลือกในการแก้ไขปัญหาที่สมเหตุสมผลหลากหลาย เป็นไปได้ จนเพื่อนร่วมงานสามารถแก้ปัญหาได้เกือบทุกครั้ง จนเป็นที่พึ่งของเพื่อนร่วมงานในองค์กร
4--ร่วมคิด ร่วมทำ และร่วมตัดสินใจในกระบวนการพัฒนาบุคลากรของหน่วยงาน อย่างต่อเนื่อง
4--เป็นแบบอย่างและร่วมสร้างเครือข่ายการพัฒนาบุคลากรระดับเขตพื้นที่ และระดับประเทศ
4--จัดกิจกรรม/โครงการ/สนับสนุนให้เพื่อนร่วมงานและผู้เกี่ยวข้องได้มีโอกาสพัฒนาศักยภาพ อย่างหลากหลายและต่อเนื่อง


8. การมีวิสัยทัศน์ :ความสามารถในการกำหนดวิสัยทัศน์ทิศทาง หรือ แนวทาง การพัฒนาองค์กรที่เป็นรูปธรรม เป็นที่ ยอมรับ และเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ การยอมรับแนวคิด/วิธีการใหม่ ๆ เพื่อ การพัฒนางาน
8.1 การใช้กระบวนการมีส่วนร่วมในการกำหนดวิสัยทัศน์ หรือทิศทางการพัฒนาองค์กร
8.2 ความทันสมัยและสร้างสรรค์ของวิสัยทัศน์หรือทิศทางการพัฒนางาน และความสอดคล้องกับนโยบายขององค์กรที่สังกัด
8.3 ความเป็นรูปธรรมความเป็นไปได้ หรือโอกาสความสำเร็จตามวิสัยทัศน์
8.4 การยอมรับการปรับเปลี่ยนเทคนิควิธีการ เมื่อสถานการณ์แวดล้อมเปลี่ยนไป

4--เปิดโอกาสให้เพื่อนร่วมงานหรือผู้เกี่ยวข้องร้อยละ 80 ขึ้นไป มีส่วนร่วมในการกำหนดวิสัยทัศน์หรือทิศทางการพัฒนาองค์กร
4--วิสัยทัศน์/ทิศทางการพัฒนางาน สะท้อนถึงความมุ่งมั่น ค่านิยมมีความชัดเจน ทันสมัย สอดคล้องกับนโยบายของหน่วยงานที่สังกัดมีการวิเคราะห์ ทบทวนและปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง
4--พันธกิจและวัตถุประสงค์ในการพัฒนางาน สอดคล้องกับวิสัยทัศน์พร้อมทั้งกำหนดยุทธศาสตร์หรือแนวทางการพัฒนางานที่เป็นรูปธรรมมีแผนงาน/โครงการหรือกิจกรรมรองรับ อย่างครอบคลุมและชัดเจน
4--มีการวิเคราะห์ ทบทวนภาวะแวดล้อมขององค์กรอย่างต่อเนื่องแสวงหาข้อมูล เปิดใจรับ/กระตุ้น/ส่งเสริมให้มีการปรับเปลี่ยนเทคนิควิธีการทำงาน เมื่อสถานการณ์เปลี่ยนแปลงไป

ขอบคุณ อ.วิรัตน์ ผดุงชีพ (ขงเบ้งแห่งอุษาคเนย์) 087-868-7956 www.khongbeng.com
อ.ประยูร มังกร (ครูถัง) 080-007-0275
www.kruthsang.com
ผอ.พรชัย นาชัยเวียง
http://www.kruthailand.net/
การบริหารงานบุคคลการ
บริหารงานบุคคล หมายถึง วิธีการจัดการหรือดำเนินการเกี่ยวกับบุคคลในการทำงานในอันที่จะทำให้บุคคลที่มีความรู้ ความสามารถเหมาะสมกับการปฏิบัติงานให้บรรลุอย่างมีประสิทธิภาพหรือศาสตร์ แขนงหนึ่งที่ว่าด้วยการดำเนินการหรือการจัดการเกี่ยวกับบุคคลในหน่วยงานความสำคัญของการบริหารงานบุคคลการบริหารงานบุคคลนั้นจะประกอบขึ้นไปด้วยองค์ประกอบที่สำคัญ อยู่ 2 ส่วน คือ
คนและงาน ดังนั้นการบริหารงานบุคคลมีความสำคัญคือ
1. คนเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดในการบริหารงาน เนื่องจากคนเป็นผู้ทำให้เกิดความสำเร็จ
2. การทำงานจำเป็นจะต้องเลือกคนเพื่อให้ได้บุคคลที่มีความรู้ ความสามารถเหมาะกับงานและรู้จักใช้คนอย่างมีประสิทธิภาพองค์ประกอบของการบริหารงานบุคคล
1. องค์กรและสิ่งแวดล้อม
2. งาน
3. บุคคลกระบวนการบริหารงานบุคคล
1. การสรรหาบุคคล ได้แก่ การวางแผน การกำหนดตำแหน่ง และการสรรหา( เป็นขั้นตอนที่สำคัญที่สุด)
2. การใช้บุคคล ได้แก่ การบรรจุแต่งตั้ง การย้าย การโอน
3. การพัฒนาบุคคล ได้แก่ การพัฒนา การพิจารณาความดี ความชอบ การเลื่อนตำแหน่ง
4. การธำรงรักษาบุคคล ได้แก่ การดำเนินการทางวินัย การอุทธรณ์ ร้องทุกข์ การจัดสวัสดิการ การทะเบียนประวัติสรุป หา ใช้ พัฒนา ธำรงรักษาระบบการบริหารงานบุคคล

ระบบการบริหารงานบุคคลที่สำคัญมี 2 ระบบ คือ
1. ระบบอุปถัมภ์ ( Patronage System ) ใช้มาตั้งแต่โบราณ สามารถแบ่งออกได้
3 ลักษณะ คือ
1. ระบบสืบสายโลหิต
2. ระบบแลกเปลี่ยน นำสิ่งของมาแลกเปลี่ยน
3. ระบบชอบพอกันพิเศษ

2. ระบบคุณธรรม ( Merit System ) บางแห่งเรียกใช้คำว่า ระบบคุณวุฒิ
- ระบบความรู้ ความสามารถ
- ระบบคุณความดี
– ระบบความดีและความสามารถ
มีหลักสำคัญ 4 ประการ คือ
1. หลักความสามารถ ( Put the right man on the right job )
2. หลักความเสมอภาค
–เปิดโอกาสให้เท่าเทียมกัน( Equal Pay for Equal Work )
3. หลักความมั่นคง
-หลักประกันในการทำงาน
4. หลักความเป็นกลางทางการเมืองภาคราชการนิยมใช้ ระบบคุณธรรมภาคธุรกิจ นิยมใช้ ระบบคุณธรรมและระบบอุปถัมภ์ขอบข่ายในการบริหารงานบุคคล
1. การดำเนินการเกี่ยวกับความต้องการบุคคลในราชการ
2. การสรรหาบุคลากรเข้ารับราชการ ได้แก่ การสอบแข่งขัน,การคัดเลือก,การสอบคัดเลือก
3. การแต่งตั้ง ได้แก่การบรรจุและแต่งตั้ง การย้าย การโอน การเลื่อนตำแหน่ง
4. การพัฒนาบุคลากร ได้แก่การฝึกอบรม
5. การพิจารณาความดีความชอบ
6. การรักษาระเบียบวินัย
7. การออกจากราชการ
8. การอุทธรณ์และการร้องทุกข์
9. การจัดทำทะเบียนประวัติ
10. การให้บริการเกี่ยวกับงานบุคคล
ที่มาhttp://krusukhothai.blogspot.com/2009_06_01_archive.html
การวางแผนอัตรากำลัง หมายความว่า การกำหนดว่าหน่วยงานนั้นต้องการกำลังคน หรือตำแหน่งประเภทไหน จำนวนเท่าไร โดยคิดคำนวณคนให้พอดีกับการปฏิบัติงาน ในระบบราชการมักมีการวางแผนอัตรากำลังล่วงหน้า คือเป็นรายปี หรือราย 3 ปี หรือ 9 ปีการวางแผนกำลังคนสำหรับข้าราชการครู
1. ความสำคัญเพื่อแก้ปัญหาในเรื่องจำนวนและคุณภาพของข้าราชการครูในสถานศึกษา
2. ปัญหาในการวางแผนอัตรากำลังคน ขาดความรู้ทางหลักวิชา ขาดข้อมูลข่าวสาร นโยบาย เป้าหมาย วัตถุประสงค์ของรัฐไม่ชัดเจน ไม่ต่อเนื่อง มีการนำผลประโยชน์ส่วนตัวมาใช้ในการวางแผน ขาดปัจจัยสำคัญในการบริหาร เช่น เงินวัสดุ ผู้บริหารไม่ให้ความสำคัญกับการวางแผนอัตรากำลังคน
3. วัตถุประสงค์- สร้างต้นแบบการวางแผนอัตรากำลัง- สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษานำต้นแบบการวางแผนกำลังคนไปใช้
4. แนวคิดในการวางแผนกำลังคน ยึดหลักการจำนวนกำลังคนที่ต้องการมากขึ้น จำนวนคนที่ต้องการทั้งหมด
– จำนวนคนที่มีอยู่จริงกระบวนการวางแผนกำลังคนมีองค์ประกอบสำคัญ 3 ประการดังนี้
1. กำลังคนที่มีอยู่ในปัจจุบัน ข้อมูลปริมาณ คุณภาพ
2. การคาดการณ์กำลังคนในอนาคต เช่น ความชำนาญงาน พื้นฐานการศึกษาและประสบการณ์
3. กำลังคนเพิ่มขึ้นการกำหนดปริมาณงานในสถานศึกษา
1) ปริมาณงานด้านการบริหารสถานศึกษา มีผู้อำนวยการสถานศึกษากับรองผู้อำนวยการสถานศึกษา
2) ปริมาณงานด้านการสอน เกณฑ์ข้อมูล 10 มิถุนายนของทุกปี สถิตินักเรียนของสถานศึกษา จำนวนชั่วโมงงานสอนในหนึ่งสัปดาห์ของข้าราชการครูและครูอัตราจ้าง
3) ปริมาณอื่น ชั่วโมงปฏิบัติงานสนับสนุนการสอนในหนึ่งสัปดาห์ เป็นต้นเกณฑ์มาตรฐานอัตรากำลังครู
1. เกณฑ์มาตรฐานอัตรากำลังครูสายการสอนในสถานศึกษาระดับก่อนประถมศึกษา ประถมศึกษาและมัธยมศึกษากรณีที่ 1 โรงเรียนที่มีนักเรียน 120 คนลงมา ( 20 : 1 )รายการ นักเรียน 20 คนลงมา
21-40 คน ผู้สอน 2
41-60 คน 3
61-80 คน 4
81-100 คน 5
101-120 คน 6
กรณีที่ 2 โรงเรียนที่มีนักเรียน 121 คนขึ้นไประดับก่อนประถมศึกษา = ( ห้องเรียน x 30 ) + นักเรียนทั้งหมด (0.5 ขึ้นไป เพิ่ม 1 คน )50ระดับประถมศึกษา = ( ห้องเรียน x 40 ) + นักเรียนทั้งหมด (0.5 ขึ้นไป เพิ่ม 1 คน )50ระดับมัธยมศึกษา = จำนวนห้องเรียน x 2เงื่อนไข- คิดจำนวนห้องเรียนแต่ละชั้น หากมีเศษตั้งแต่ 10 คนขั้นไป ให้เพิ่มอีก 1 ห้อง- การคิดจำนวนครูให้ปัดเศษตามหลักคณิตศาสตร์
2. เกณฑ์อัตรากำลังสายผู้บริหารสถานศึกษากรณีที่ 1 โรงเรียนมีนักเรียนต่ำกว่า 360 คน มีผู้บริหาร 1 คนกรณีที่ 2 โรงเรียนที่มีนักเรียนตั้งแต่ 360 คนขึ้นไป จำนวนนักเรียน จำนวนผู้บริหาร รวมทั้งสิ้น
ผู้อำนวยการสถานศึกษา รองผู้อำนวยการสถานศึกษา
360-719 1 1 2
720-1,079 1 2 3
1,080-1,679 1 3 4
1,680 ขึ้นไป 1 4 5
ที่มาhttp://krusukhothai.blogspot.com/2009_06_01_archive.html

การบริหารงานทั่วไป
งานสารบรรณ ( ต่อ )

หนังสือที่ต้องปฏิบัติให้เร็วกว่าปกติเป็นหนังสือที่จะต้องจัดส่งหรือดำเนินการทางสารบรรณด้วยความเร็วเป็นพิเศษ แบ่งได้ 3 ประเภทคือ
1. ด่วนที่สุด ให้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติทันทีเมื่อได้รับหนังสือนั้น
2. ด่วนมาก ให้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติโดยเร็ว
3. ด่วน ให้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติเร็วกว่าปกติเท่าที่จะทำได้ให้ระบุชั้นความเร็วด้วยอักษรสีแดง ขนาดไม่เล็กกว่า ตัวพิมพ์โป้ง 32 พอยท์ให้เห็นชัดเจนบนหนังสือหรือบนซองในกรณีที่ที่อย่างให้หนังสือถึงมือผู้รับตามกำหนดให้ลงคำว่า ด่วนภายใน แล้วลงวันเดือน ปีและกำหนดเวลาที่ต้องการให้หนังสือนั้นไปถึงผู้รับ กับให้เจ้าหน้าที่ส่งถึงผู้รับซึ่งระบุหน้าซองภายในเวลาที่กำหนดหนังสือที่ต้องการให้ส่วนราชการอื่นทราบด้วย ให้รับรองหนังสือว่า สำเนาถูกต้อง ให้เจ้าหน้าที่ระดับ 2 หรือเทียบเท่าขึ้นไปรับรองเรื่องราชการที่จะดำเนินการหรือสั่งการด้วยหนังสือได้ไม่ทันให้ส่งข้อความทางเครื่องมือสื่อสารเช่น โทรเลข วิทยุโทรเลข โทรพิมพ์วิทยุ สื่อสาร วิทยุกระจายเสียง หรือวิทยุโทรทัศน์ เป็นต้นและให้ผู้รับ ปฏิบัติเช่นเดียวกับได้รับหนังสือ ในกรณีที่จำเป็นต้องยืนยันเป็นหนังสือให้ทำหนังสือยืนยืนตามไปทันทีการส่งข้อความทางเครื่องมือสื่อสารซึ่งไม่มีหลักฐานปรากฏชัดแจ้ง เช่นทางโทรศัพท์ วิทยุสื่อสาร วิทยุกระจายเสียง หรือวิทยุโทรทัศน์ เป็นต้น ให้ผู้ส่งและผู้รับบันทึกข้อความไว้เป็นหลักฐานหนังสือที่จัดทำขึ้นโดยปกติให้มี ( 3 ฉบับ )
1. ฉบับจริง
2. สำเนาคู่ฉบับเก็บไว้ที่ต้นเรื่อง 1 ฉบับ
3. สำเนาเก็บไว้ที่หน่วยงานสารบรรณกลาง 1 ฉบับ( สำเนาคู่ฉบับให้ผู้ลงชื่อลงลายมือชื่อ หรือลายมือชื่อย่อ และให้ผู้ร่าง ผู้พิมพ์ และผู้ตรวจ ลงลายมือชื่อหรือลายมือชื่อย่อไว้ที่ข้างล่างด้านขวาของหนังสือ )หนังสือที่เจ้าของหนังสือเห็นว่า มีส่วนราชการอื่นที่เกี่ยวข้องควรได้รับทราบด้วยโดยปกติให้ส่งสำเนาไปให้ทราบด้วยโดยทำเป็นหนังสือประทับตรา( สำเนาหนังสือนี้ให้คำรับรองว่า สำเนาถูกต้อง โดยให้เจ้าหน้าที่ตั้งแต่ระดับ 2 หรือเทียบเท่าขึ้นไป ซึ่งเป็นเจ้าของเรื่องลงลายมือชื่อรับรอง พร้อมทั้งลงชื่อตัวบรรจง และตำแหน่งที่ขอบล่างของหนังสือหนังสือเวียน คือหนังสือที่มีถึงผู้รับเป็นจำนวนมาก มีใจความอย่างเดียวกัน ให้เพิ่มรหัสตัวพยัญชนะ ว หน้าเลขทะเบียนหนังสือส่ง ซึ่งกำหนดเป็นตัวเลขที่หนังสือเวียนโดยเฉพาะเริ่มตั้งแต่เลข 1 เรียงเป็นลำดับไปจนถึงปีปฏิทิน หรือใช้เลขที่ของหนังสือทั่วไปตามแบบหนังสือภายนอกหนังสือต่างประเทศ ให้ใช้กระดาษตราครุฑ หนังสือที่เป็นภาษาอื่นที่ไม่ใช่ภาษาอังกฤษให้ใช้ตามประเพณีนิยมหนังสือที่เป็นภาษาอังกฤษ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1. หนังสือที่ลงชื่อ- หนังสือที่เป็นแบบพิธี (ใช้ติดต่อทางการทูต ระหว่างส่วนราชการไทยกับส่วนราชการต่างประเทศ)- หนังสือที่ไม่เป็นแบบพิธี ( ใช้ติดต่อระหว่างส่วนราชการไทยกับส่วนราชการต่างประเทศ)- หนังสือกลาง ( หนังสือที่ใช้สรรพนามบุรุษที่ 3 และประทับตราส่วนราชการ)
2. หนังสือที่ไม่ลงชื่อ- บันทึกช่วยจำ ( ยืนยันข้อความที่ได้สนทนา)- บันทึก ( แถลงรายละเอียด หรือข้อเท็จจริง)การรับและส่งหนังสือการรับหนังสือ ขั้นตอนการรับหนังสือ1. จัดลำดับความสำคัญและความเร่งด่วนของหนังสือ2. ลงทะเบียนตรารับหนังสือที่มุมด้านบนของหนังสือ
3. ลงทะเบียนรับหนังสือในทะเบียนหนังสือรับ4. จัดแยกหนังสือที่ลงทะเบียนรับแล้ว ส่งให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องดำเนินการโดยให้ลงชื่อหน่วยงานที่รับหนังสือนั้นในช่อง การปฏิบัติถ้ามีชื่อบุคคล หรือตำแหน่งที่เกี่ยวข้องกับการรับหนังสือให้ลงชื่อหรือตำแหน่งไว้ด้วยการส่งหนังสือขั้นตอนการส่งหนังสือ
1. ให้เจ้าของเรื่องตรวจสอบความเรียบร้อยของหนังสือ รวมทั้งสิ่งที่จะส่งไปด้วยให้ครบถ้วนแล้วส่งเรื่องให้เจ้าหน้าที่ของหน่วยงานสารบรรณกลางเพื่อส่งออก
2. เมื่อเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานสารบรรณกลางได้รับเรื่องแล้ว ให้ปฏิบัติ ดังนี้
- ลงทะเบียนส่งหนังสือในทะเบียนหนังสือ
- ข้อสอบ**จำให้ได้ลงเลขที่ และวัน เดือน ปี ในหนังสือที่จะส่งออกทั้งในต้นฉบับและสำเนาคู่ฉบับให้ตรงกับเลขทะเบียนส่ง และวัน เดือน ปี ในทะเบียนหนังสือส่ง
- ก่อนบรรจุซองให้เจ้าหน้าที่ของหน่วยงานสารบรรณกลางตรวจความเรียบร้อยของหนังสือตลอดจนสิ่งที่ส่งไปด้วยอีกครั้งหนึ่ง แล้วปิดผนึก- หนังสือที่ไม่มีความสำคัญมากนัก อาจส่งไปโดยวิธีพับยึดติดด้วยแถบกาวเย็บด้วยลวด หรือวิธีอื่นแทนการบรรจุซองการส่งหนังสือโดยทางไปรษณีย์ให้ถือปฏิบัติตามระเบียบ หรือวิธีการที่การสื่อสารแห่งประเทศไทยกำหนด
- การส่งหนังสือซึ่งมิใช่เป็นการส่งโดยการไปรษณีย์ เมื่อส่งหนังสือให้ผู้รับแล้ว ผู้ส่งต้องให้ผู้รับลงชื่อรับในสมุดส่งหนังสือหรือใบรับแล้วแต่กรณี
- ถ้าเป็นใบรับให้นำใบรับนั้นมาผนึกติดไว้ที่สำเนาคู่ฉบับวันนี้พอแค่นี้ก่อนนะครับ เดี๋ยวค่อยมาว่ากันต่อ

การบริหารทั่วไป

จะเสนอเกี่ยวกับการบริหารทั่วไป ซึ่งวันนี้จะสรุปเกี่ยวกับงานสารบรรณ ก็หวังว่าทุกท่านที่อ่านจะเข้าใจง่ายและสามารถนำไปใช้ได้ ก็เริ่มเลยละกันระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ.2526 ( ฉ.2 พ.ศ.2548 )
งานสารบรรณ หมายถึง งานที่เกี่ยวกับการบริหารเอกสาร เริ่มตั้งแต่ การจัดทำ การรับ การส่ง การเก็บรักษา การยืม จนถึงการทำลายหนังสือราชการ มี 6 ชนิด
1. หนังสือภายนอก คือ หนังสือที่ติดต่อราชการเป็นแบบพิธี โดยใช้กระดาษตราครุฑ เป็นหนังสือที่ติดต่อระหว่างส่วนราชการกับส่วนราชการ หรือส่วนราชการถึงหน่วยงานอื่นใดซึ่งมิใช่ส่วนราชการหรือส่วนราชการถึงบุคคลภายนอก
2. หนังสือภายใน คือหนังสือ ที่ติดต่อราชการเป็นแบบพิธีน้อยกว่าหนังสือภายนอก เป็นหนังสือที่ติดต่อภายในกระทรวง ทบวง กรม หรือจังหวัดเดียวกัน ใช้กระดาษบันทึกข้อความ
3. หนังสือประทับตรา คือหนังสือที่ใช้ประทับตราแทนการลงชื่อ ของหัวหน้าส่วนราชการระดับกรมขึ้นไป โดยให้หัวหน้าส่วนราชการระดับกองหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากหัวหน้าส่วนราชการระดับกรมขึ้นไปเป็นผู้รับผิดชอบลงชื่อย่อกำกับตรา หนังสือประทับตราให้ใช้ได้ทั้งส่วนราชการกับส่วนราชการและส่วนราชการกับบุคคลภายนอก ( เฉพาะในกรณีไม่ใช่เรื่องสำคัญ) เช่น- การขอรายละเอียดเพิ่มเติม- การส่งสำเนาหนังสือ สิ่งของ เอกสารหรือบรรณสาร- การตอบรับทราบที่ไม่เกี่ยวกับราชการสำคัญ หรือการเงิน- การแจ้งผลงานที่ได้ดำเนินการไปแล้วให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องทราบ- การเตือนเรื่องที่ค้าง- เรื่องซึ่งหัวหน้าส่วนราชการระดับกรมขึ้นไปกำหนดโดยทำเป็นคำสั่งให้ใช้หนังสือประทับตรา4. หนังสือสั่งการ มี 3 ชนิด
1. คำสั่ง คือบรรดาที่ข้อความที่ผู้บังคับบัญชา สั่งให้ปฏิบัติ โดยชอบด้วยกฎหมายใช้กระดาษตราครุฑ
2. ระเบียบ คือบรรดาข้อความที่ผู้มีอำนาจหน้าที่ได้วางเอาไว้ โดยอาศัยอำนาจของกฎหมายหรือไม่ก็ได้ เพื่อถือเป็นหลักปฏิบัติงานเป็นประจำ ใช้กระดาษตราครุฑ
3. ข้อบังคับ คือ บรรดาข้อความที่ผู้มีอำนาจหน้าที่ กำหนดให้ใช้ โดยอาศัยอำนาจของกฎหมายที่บัญญัติให้กระทำได้ ใช้กระดาษตราครุฑ

5. หนังสือประชาสัมพันธ์ แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่
1. ประกาศ คือบรรดาข้อความที่ทางราชการประกาศ หรือชี้แจงให้ทราบ หรือแนวทางปฏิบัติ ใช้กระดาษตราครุฑ
2. แถลงการณ์ คือบรรดาข้อความที่ทางราชการแถลงเพื่อทำความเข้าใจ ในกิจกรรมของทางราชการหรือเหตุการณ์หรือกรณีใดๆให้ทราบชัดเจนโดยทั่วกันใช้กระดาษตราครุฑ
3. ข่าว คือบรรดาที่ข้อความที่ทางราชการเห็นสมควรเผยแพร่ให้ทราบ ไม่ใช้กระดาษตราครุฑ

6. หนังสือที่เจ้าหน้าที่ทำขึ้นหรือรับไว้เป็นหลักฐานในราชการ มี ดังนี้
1. หนังสือรับรอง คือหนังสือที่ส่วนราชการออกให้เพื่อรับรองแก่บุคคล นิติบุคคลหรือหน่วยงาน เพื่อวัตถุประสงค์อย่างหนึ่ง อย่างใดให้ปรากฏแก่บุคคลโดยทั่วไปไม่จำเพาะเจาะจง ใช้กระดาษตราครุฑ
2. รายงานการประชุม คือบันทึกความคิดเห็นของผู้ประชุมผู้เข้าร่วมประชุมและมติของที่ประชุมไว้เป็นหลักฐาน ไม่ใช้กระดาษตราครุฑ ( ผู้ที่สำคัญที่สุดคือเลขานุการ ,หัวใจสำคัญที่สุดคือระเบียบวาระการประชุม)
3. บันทึก คือข้อความที่ผู้ใต้บังคับบัญชาเสนอต่อผู้บังคับบัญชา หรือผู้บังคับบัญชาสั่งการแก่ผู้ใต้บังคับบัญชาหรือข้อความที่เจ้าหน้าที่ หรือหน่วยงานระดับต่ำกว่าส่วนราชการระดับกรมติดต่อกันในการปฏิบัติราชการ โดยปกติให้ใช้กระดาษบันทึกข้อความ4. หนังสืออื่น คือหนังสือหรือเอกสารอื่นใดที่เกิดขึ้นเนื่องจากการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่เพื่อเป็นหลักฐานในทางราชการ ซึ่งรวมถึง ภาพถ่าย ฟิล์ม แถบบันทึกเสียง แถบบันทึกภาพและสื่อกลางบันทึกข้อมูลด้วย หรือหนังสือของบุคคลภายนอกที่ยื่นต่อเจ้าหน้าที่และเจ้าหน้าที่ได้รับเข้าทะเบียนรับหนังสือของทางราชการแล้วมีรูปแบบตามที่กระทรวง ทบวง กรมจะกำหนดขึ้นใช้ตามความเหมาะสม เว้นแต่มีแบบตามกฎหมายเฉพาะเรื่องให้ทำตามแบบ เช่นโฉนด แผนที่ แบบ ผนัง สัญญา หลักฐานการสืบสวนและสอบสวน และคำร้อง เป็นต้นสื่อกลางบันทึกข้อมูล หมายถึง สื่อใดๆที่อาจใช้บันทึกข้อมูลได้ด้วยอุปกรณ์ทางอิเลคทรอนิกส์ เช่น แผนบันทึกข้อมูล เทปแม่เหล็ก จานแม่เหล็ก แผ่นซีดี-อ่านอย่างเดียว หรือแผ่นดิจิทัลเอนกประสงค์ เป็นต้น

คุณธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา

คุณธรรมของผู้บริหารสถานศึกษาเพื่อให้ผู้ที่จะเข้าสู่ตำแหน่งได้ศึกษาคุณธรรมให้ลึกซึ่ง และสามารถนำไปใช้ในการทำงานได้คุณธรรมของผู้บริหารสถานศึกษาธรรมะ ข้อควรประพฤติปฏิบัติหลักธรรม หมวดหมู่แห่งธรรมคุณธรรม ความดีงามในจิตใจซึ่งทำให้เคยชินประพฤติดีธรรมะที่ดีงามที่ควรครองไว้ในใจจริยธรรม ธรรมะที่ดีงามที่แสดงออกทางกายวัฒนธรรม สิ่งดีงามที่ยึดถือปฏิบัติสืบทอดกันมาค่านิยม คุณธรรมพื้นฐานที่ยึดถือเป็นวิถีชีวิตมนุษยธรรม
ธรรมะพื้นฐานที่มนุษย์ควรยึดถือปฏิบัติ( ศีล 5 )คุณธรรมและจริยธรรมสำหรับผู้บริหารสถานศึกษา
- ข้อวัตรที่ผู้บริหารควรศึกษาควรรู้
- ข้อปฏิบัติที่ผู้บริหารควรยึดถือปฏิบัติ
- ข้อความดีที่ผู้บริหารควรนำมาครองใจ
คุณธรรมหลัก 4 ประการ ของอริสโตเติล
1. ความรอบคอบ
2. ความกล้าหาญ
3. การรู้จักประมาณ
4. ความยุติธรรม

พระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
1. การรักษาความสัตย์
2. การรู้จักข่มใจตัวเอง
3. การอดทน อดกลั้นและอดออม
4. การรู้จักละวางความชั่ว

ค่านิยมพื้นฐาน 5 ประการ
1. การพึ่งตนเอง
2. การประหยัดและอดออม
3. การมีระเบียบวินัย
4. การปฏิบัติตามคุณธรรม
5. รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์

ทศพิธราชธรรม
ธรรมของผู้ปกครอง
1. ทาน- การให้
2. ศีล – การควบคุมกายวาจา
3. บริจาค- การเสียสละ 4. อาชวะ – ซื่อตรง
5. มัทวะ – อ่อนโยน 6. ตบะ - ความเพียร7. อักโกธะ- ไม่โกรธ
8. อวิหิงสา- ไม่เบียดเบียน
9. ขันติ – อดทน
10. อวิโรธนะ – ไม่ผิดธรรม

พรหมวิหาร 4
คุณธรรมของท่านผู้เป็นใหญ่
1. เมตตา – รักใคร่
2. กรุณา – สงสาร
3. มุทิตา – พลอยยินดี
4. อุเบกขา – วางเฉยประโยชน์ - ทำให้ผู้อื่นรักใคร่ นับถือ จงรักภักดี- เป็นผู้มีน้ำใจนักกีฬา

อิทธิบาท 4
คุณธรรมเครื่องทำให้ประสบความสำเร็จ
1. ฉันทะ – พอใจ
2. วิริยะ – เพียร
3. จิตตะ-ฝักใฝ่
4. วิมังสา – ตริตรองประโยชน์ - พอใจในงาน ไม่เบื่อ มีความเพียร ศึกษาค้นคว้าปฏิบัติงานจนสำเร็จ

สังคหวัตถุ 4 คุณธรรมที่เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวใจคน
1. ทาน – ให้ปัน
2. ปิยวาจา – วาจาอ่อนหวาน
3. อัตถจริยา – ประพฤติประโยชน์ต่อผู้อื่น
4. สมานัตตา – ไม่ถือตัวประโยชน์ - ทำให้ผู้อื่นรักใคร่ นับถือ ยึดเหนี่ยวน้ำใจผู้อื่น

ธรรมมีอุปการะมาก
- สติสัมปชัญญะ ช่วยไม่ให้เกิดความเสียหาย
- นาถกรณธรรมหรือพหุการธรรม

สัปปุริสธรรม 7 ธรรมของสัตบุรุษ
1. ธัมมัญญุตา รู้จักเหตุ
2. อัตถัญญุตา รู้จักผล
3. อัตตัญญุตา รู้จักตน
4. มัตตัญญุตา รู้จักประมาณ
5. กาลัญญุตา รู้จักกาล
6. ปริสัญญุตา รู้จักชุมชน
7. ปุคคลัญญุตา รู้จักคนควรคบ( บุคคล)
ประโยชน์ข้อ 1 – 2 ช่วยให้มีเหตุผลไม่งมงายข้อ 3 – 4 ช่วยให้รู้จักวางตัวเหมาะสมข้อ 5 ช่วยให้เป็นผู้ทันสมัยก้าวหน้าในงานข้อ 6 – 7 ช่วยให้รู้เท่าทันเหตุการณ์

อธิษฐานธรรม
ธรรมที่ควรตั้งไว้ในใจ
1. ปัญญา - รอบรู้
2. สัจจะ - ความจริงใจ
3. จาคะ – สละสิ่งที่ไม่จริงใจ
4. อุปสมะ – สงบใจ

ขันติโสรัจจะ – ธรรมอันทำให้งาม ความอดทน สงบเสงี่ยม เป็นเครื่องประดับของนักปราชญ์หิริโอตตัปปะ – ธรรมเป็นโลกบาลหรือธรรมคุ้มครองโลก
หิริ – ละอายในการทำบาป
โอตตัปปะ – เกรงกลัวต่อบาปและผลแห่งบาป

อคติ 4 - สิ่งที่ไม่ควรประพฤติ
1. ฉันทาคติ - ลำเอียงเพราะรัก
2. โทสาคติ – ลำเอียงเพราะชัง
3. โมหาคติ - ลำเอียงเพราะเขลา
4. ภยาคติ - ลำเอียงเพราะกลัว
พละ 5 - ธรรมเป็นกำลัง 5 อย่าง ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา

เบญจธรรม - ศีล 5 ข้อ ควรงดเว้น 5 ประการ ทำให้ก้าวหน้าในชีวิต เกิดความสบายใจไม่ทุกข์ร้อน

นิวรณ์ 5 - ธรรมอันกั้นจิตไม่ให้บรรลุความดี
1. กามฉันท์ - ใคร่ในกาม
2. พยาบาท - ปองร้าย
3. ถีนมิทธ - ง่วงเหงา
4. อุทธัจจกุกกุจจะ - ฟุ้งซ่าน
5. วิจิกิจฉา – ลังเล สงสัย

มรรค 8 - แม่บทแห่งการปฏิบัติของบุคคล
1. สัมมาทิฏฐิ - ปัญญาชอบ
2. สัมมาสังกัปปะ - ดำริชอบ
3. สัมมาวาจา - เจรจาชอบ
4. สัมมากัมมันตะ - ทำการงานชอบ
5. สัมมาอาชีวะ - เลี้ยงชีวิตชอบ
6. สัมมาวายามะ - เพียรชอบ
7. สัมมาสติ - ระลึกชอบ
8. สัมมาสมาธิ - ตั้งใจชอบ

เวสารัชชกรณธรรม - ธรรมทำความกล้าหาญ 5 อย่าง
1. สัทธา - ทำให้ใจหนักแน่น
2. ศีล - บังคับตนไม่ทำผิด
3. พาหะสัจจะ - ทำงานตามหลักวิชา
4. วิริยารัมภะ - ป้องกันความโลเล5. ปัญญา - ช่วยให้เห็นทางถูกผิด

อภิณหปัจจเวกขณ์
- ธรรมแห่งความไม่ประมาท
- การพิจารณาเป็นประจำในเรื่องความแก่ เจ็บ ตาย การพลัดพราก กรรมทำให้ไม่ประมาทในการสร้างกรรมดีสาราณิยธรรม
- ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความระลึกถึงอปริหานิยธรรม
- ธรรมไม่เป็นที่ตั้งแห่งความเสื่อมฆราวาสธรรม
- ธรรมของผู้ครองเรือน
1. สัจจะ – สัตย์ซื่อแก่กัน
2. ทมะ – รู้จักข่มจิตของตน
3. ขันติ – อดทน
4. จาคะ – สละให้เป็นสิ่งของของตนแก่คนที่ควร

กุศลกรรมบท - ทางแห่งความดี 10 อย่าง
กายสุจริต 3
วจีสุจริต 4
มโนสุจริต 3
ปธาน - ความเพียร 4 อย่าง
1. สังวรปธาน - เพียรไม่ให้เกิดบาป
2. ปหานปธาน - เพียรละบาป
3. ภาวนาปธาน – เพียรให้กุศลเกิด
4. อนุรักษขนาปธาน – เพียรรักษากุศลบุญ
กิริยาวัตถุ 3 - หลักของการทำบุญ
1. ทานมัย – บริจาคทาน
2. ศีลมัย – รักษาศีล
3. ภาวนามัย – เจริญภาวนา

ทิศ 6 - บุคคล 6 ประเภท
1. ปุรัตถิมทิศ - ทิศเบื้องหน้า ( บิดา มารดา )
2. ทักขิณทิศ - ทิศเบื้องขวา ( ครูบา อาจารย์ )
3. ปัจฉิมทิศ - ทิศเบื้องหลัง ( บุตร ภรรยา )
4. อุตตรทิศ - ทิศเบื้องซ้าย ( มิตร สหาย )
5. เหฏฐิมทิศ - ทิศเบื้องต่ำ ( ผู้ใต้บังคับบัญชา บ่าว )
6. อุปริมทิศ - ทิศเบื้องบน ( ผู้บังคับบัญชา สมณพราหมณ์ )

โลกธรรม 8 - ธรรมดาของโลก แบ่งเป็น 2 ฝ่าย
1. อฏฐารมณ์ 4 - ฝ่ายได้ ได้ลาภ ได้ยศ ได้รับการสรรเสริญ ได้สุข
2. อนิฏฐารมณ์ 4 ฝ่ายเสื่อม เสื่อมลาภ เสื่อมยศ ถูกนินทา ได้ทุกข์

อริยทรัพย์ 7 - ความดีที่มีในสันดานอย่างประเสริฐ
1. ศรัทธา
2. ศีล
3. หิริ
4. โอตตัปปะ
5. พาหุสัจจะ
6. จาคะ
7. ปัญญา

อริยสัจ 4 ความจริงอันประเสริฐ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค

ขันธ์ 5 รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณสามัญลักษณะ

ไตรลักษณ์ ลักษณะที่เสมอกันแก่สังขารทั้งปวง
1. อนิจจตา ไตรลักษณ์ ลักษณะที่เสมอกันแก่สังขารทั้งปวง
2. ทุกขตา ความเป็นทุกข์
3. อนัตตา ความไม่ใช่ของตน

จักรธรรม 4 ธรรมเหมือนวงล้อนำสู่ความเจริญ
1. ปฏิรูปเทสวาหะ อยู่ในประเทศอันควร
2. สัปปุริสูบัสสยะ คบสัตบุรุษ
3. อัตตสัมมาปณิธิ ตั้งตนไว้ชอบ
4. ปุพเพกตปุญญตา ทำดีไว้ในปางก่อน

ธรรมะกับหลักการบริหาร
1. นิคัญเห นิคคัญหารหัง ข่มคนที่คนข่ม
2. ปัคคัญเห ปัคคัญหารหัง ยกย่องคนที่ควรยกย่อง
3. ทิฏฐานุคติ ทำตัวเป็นแบบอย่างที่ดี

การเข้าถึงพระธรรม 3 ขั้น
1. ปริยัติธรรม ศึกษาหลักคำสอน
2. ปฏิบัติธรรม ลงมือปฏิบัติธรรม
3. ปฏิเวชธรรม ได้รับผลวัฒนธรรม

ลักษณะที่แสดงถึงความเจริญ เป็นระเบียบก้าวหน้าและมีศีลธรรมวัฒนธรรมไทย แบ่งออกเป็น 4 อย่าง
1. คติธรรม ทางหรือหลักในการดำเนินชีวิต เกี่ยวกับจิตใจ
2. เนติธรรม เกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่ของบุคคล
3. วัตถุธรรม เกี่ยวกับความสะดวกสบายใจในการครองชีพ ปัจจัย 4 ศิลปะ
4. สหธรรม คุณธรรมทำให้คนอยู่ร่วมกันอย่างมีระเบียบ มารยาทประเพณี สิ่งที่ปฏิบัติสืบต่อกันมาอารยธรรม ความเจริญที่สูงเด่นเมื่อเปรียบเทียบกับวัฒนธรรมผู้อื่นจรรยาวิชาชีพ กฎเกณฑ์ความประพฤติ มารยาทในการประกอบอาชีพจรรยาบรรณ ประมวลกฎเกณฑ์ ความประพฤติ มารยาทของผู้ประกอบอาชีพ


เครื่องราชอิสริยาภรณ์

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ ก็เลยนำให้ทุกๆได้อ่านกันหวังว่าจะนำไปใช้ในการสอบได้เครื่องราชอิสริยาภรณ์ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก และเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย พ.ศ.2536
1. เครื่องราชอิสริยาภรณ์ หมายความว่า เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ตามกฎหมายว่าด้วยเครื่องราชอิสริยาภรณ์ช้างเผือก หรือเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทยตามกฎหมายว่าด้วยเครื่องราชอิสริยาภรณ์มงกุฎไทย แล้วแต่กรณี
2. ให้นายกรัฐมนตรีรักษาการตามระเบียบนี้การเสนอขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ให้เริ่มจากเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย มีจำนวน 8 ชั้นตรา และเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก มีจำนวน 8 ชั้นตรา สลับกัน โดยเลื่อนชั้นตราตามลำดับจากชั้นล่างสุดจนถึงชั้นสูงสุดตามลำดับ ดังนี้
1. ชั้นที่ 7 เหรียญเงินมงกุฎไทย ( ร.ง.ม. )
2. ชั้นที่ 7 เหรียญเงินช้างเผือก ( ร.ง.ช. )
3. ชั้นที่ 6 เหรียญทองมงกุฎไทย ( ร.ท.ม.)
4. ชั้นที่ 6 เหรียญทองช้างเผือก (ร.ท.ช.)
5. ชั้นที่ 5 เบญจมาภรณ์มงกุฎไทย (บ.ม.)
6. ชั้นที่ 5 เบญจมาภรณ์ช้างเผือก (บ.ช.)
7. ชั้นที่ 4 จัตุรถาภรณ์มงกุฎไทย (จ.ม.)
8. ชั้นที่ 4 จัตุรถาภรณ์ช้างเผือก (จ.ช.)
9. ชั้นที่ 3 ตริตาภรณ์มงกุฎไทย (ต.ม.)
10. ชั้นที่ 3 ตริตาภรณ์ช้างเผือก (ต.ช.)
11. ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย (ท.ม.)
12. ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก (ท.ช.)
13. ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม)
14. ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)
15. ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)
16. ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)
โดยให้พิจารณาถึงตำแหน่ง ระดับ ชั้น ชั้นยศ กำหนดระยะเวลา และความดีความชอบ เว้นแต่จะได้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่นในระเบียบนี้

การเลื่อนขั้นเงินเดือน

การพิจารณาการเลื่อนขั้นเงินเดือนซึ่งจะนำไปใช้ในการสอบดังนี้กฎ ก.พ. ว่าด้วยการเลื่อนขั้นเงินเดือน 2544ปีงบประมาณ เลื่อนขั้นเงินเดือน 2 ครั้ง ครั้งที่ 1 ( ครึ่งปีแรก ) 1 ตุลาคม ถึง 31 มีนาคม ให้เลื่อนขั้นในวันที่ 1 เมษายนครั้งที่ 2 ( ครั้งปี หลัง) 1 เมษายน ถึง 30 กันยายน ให้เลื่อนขั้นเงินเดือนในวันที่ 1 ตุลาคมหลักเกณฑ์การลาบ่อยครั้งและมาทำงานสาย1. การลาบ่อยครั้ง- ข้าราชการปฏิบัติงานตามโรงเรียน ลาเกิน 6 ครั้ง- ข้าราชการปฏิบัติงานตามสำนักงาน ลาเกิน 8 ครั้ง**
ข้าราชการที่ลาเกินครั้งที่กำหนด ถ้าวันลาไม่เกิน 15 วัน และมีผลงานดีเด่นอาจผ่อนผันให้เลื่อนเงินเดือนได้********2. มาทำงานสายเนื่องๆ- ข้าราชการปฏิบัติงานตามโรงเรียน มาทำงานสายเกิน 8 ครั้ง- ข้าราชการปฏิบัติงานตามสำนักงาน มาทำงานสายเกิน 9 ครั้ง*********
ข้าราชการครูที่ลาบ่อยครั้ง / มาทำงานสายเนืองๆไม่ได้รับการขึ้นเงินเดือน************
การแบ่งกลุ่มพิจารณา
- กลุ่มข้าราชการในสถานศึกษา- กลุ่มผู้บริหารสถานศึกษา
- กลุ่มที่ปฏิบัติงานใน สพท.- กลุ่มระดับ 9 ขึ้นไป ส่งไปให้กรมประเมินให้การประเมินประสิทธิภาพ- ผอ.โรงเรียนประเมินครูในโรงเรียน- ผอ.เขต ประเมินผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ในสำนักงาน- ผู้ประเมินและรับการประเมินตกลงร่วมกันในรายละเอียดการประเมินแบ่งการประเมิน ดังนี้
- ผลการประเมินดีเด่น ได้คะแนนประเมินไม่ต่ำกว่า 90-100% อยู่ในเกณฑ์ ได้เลื่อนขั้น 1 ขั้น- ผลการประเมินเป็นที่ยอมรับได้ ได้รับคะแนนประเมินไม่ต่ำกว่า 60-89% อยู่ในเกณฑ์ ได้เลื่อนขั้น 0.5 ขั้น- ผลการประเมินต้องปรับปรุง ระดับคะแนนประเมินต่ำกว่า 60% ไม่ควรเลื่อนขั้นเงินเดือนการตั้งคณะกรรมการพิจารณา- คณะกรรมการส่วนกลาง- ระดับ สพฐ.
- ระดับเขตพื้นที่การศึกษา
- ระดับสถานศึกษา
- ผู้บริหารสถานศึกษา
ประธานกรรมการ- รองผู้อำนวยการสถานศึกษา กรรมการ(ถ้ามี)
- ผู้แทนหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้จำนวน 1-4 คน กรรมการ
- ผู้แทนข้าราชการครูในสถานศึกษา จำนวน 1-4 คน กรรมการประธานเลือกกรรมการคนใดคนหนึ่งเป็นเลขานุการบัญชีรายละเอียดเพื่อพิจารณาเงินเดือน มี 5 บัญชี ดังนี้หมายเลข 1 บัญชีผู้ได้รับการพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือน 1.5 ขั้น ใช้เฉพาะการเลื่อนขั้นเงินเดือนครั้งที่ 2 ( 1 ตุลาคม ) เท่านั้นหมายเลข 2 ผู้ได้รับการพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือน 1 ขั้นหมายเลข 3 ผู้ได้รับการพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือน 0.5 ขั้นหมายเลข 4 ผู้ไม่ได้รับการเลื่อนขั้นเงินเดือนหมายเลข 5 บัญชีแสดงการสำรองวงเงินเลื่อนขั้นเงินเดือนวันนี้พอแค่นี้ก่อนสรุปได้แค่นี้ คงมีประโยชน์กับผู้อ่านไม่มากก็น้อย ถ้ามีประโยชน์ก็ส่งผลบุญมาให้บ้างละกันนะขอรับ บ๊ายบาย

สรุปเกี่ยวกับการลา(2)

รายละเอียดของการลาแต่ละประเภทก็แล้วกันนะขอรับ..........
การลาป่วยให้เสนอจัดส่งใบลาก่อนหรือในวันที่ลา เว้นกรณีจำเป็นเสนอส่งใบลาในวันที่ปฏิบัติการได้ถ้าผู้ป่วยไม่สามารถลงชื่อในใบลาได้ ให้ผู้ยื่นลงชื่อแทนได้ แต่ถ้าสามารถเขียนได้ให้ส่งใบลาโดยเร็ว

การลาป่วยตั้งแต่ 30 วันขึ้นไป ต้องมีใบรับรองแพทย์การลาคลอดบุตรให้ส่งใบลาก่อนหรือในวันที่ลา ลงชื่อไม่ได้ให้ผู้อื่นลงแทนได้ ลงชื่อได้จัดส่งใบลาโดยเร็ว
สิทธิในการลาคลอดบุตรได้ 90 วัน โดยได้รับเงินเดือนโดยไม่ต้องมีใบรับรองแพทย์ อัตราจ้างสามารถลาได้ 45 วันทำการ โดยได้รับเงินเดือน อีก 45 วันให้รับการประกันสังคมข้าราชการที่

ลาเลี้ยงดูบุตร มีสิทธิลากิจส่วนตัวเพื่อเลี้ยงดูบุตรต่อเนื่องจาการลาคลอดบุตร ไม่เกิน 30 วันทำการ โดยได้รับเงินเดือน ถ้าประสงค์จะลาต่ออีกลาได้อีกไม่เกิน 150 ทำการโดยไม่มีสิทธิได้รับเงินเดือนลากิจส่วนตัว + เลี้ยงดูบุตรได้ปีละไม่เกิน 45 วันทำการก

ารลากิจส่วนตัวแม้ยังไม่ครบกำหนด ผู้บังคับบัญชาสามารถเรียกมาปฏิบัติราชการก็ได้การลาคลอดบุตร คาบเกี่ยวกับการลาประเภทใดให้ถือว่าการลาประเภทนั้นสิ้นสุดลงและนับเป็นการลาคลอดบุตรต่อการลากิจส่วนตัวเพื่อเลี้ยงดูบุตร ผู้บังคับบัญชาไม่สามารถเรียกมาปฏิบัติราชการได้การลากิจส่วนตัวการลากิจส่วนตัว ต้องส่งใบลาก่อนเมื่อได้รับอนุญาตแล้วจึงหยุดราชการได้ เว้นแต่เหตุจำเป็นให้หยุดราชการไปก่อนและชี้แจ้งเหตุผลให้ทราบโดยเร็ว ถ้ามีเหตุพิเศษไม่อาจปฏิบัติได้ตามที่กล่าวมาให้เสนอจัดส่งใบลาพร้อมชี้แจงเหตุผลในวันแรกที่มาปฏิบัติราชการลากิจไม่เกิน 45 วันทำการ/ปีการลาพักผ่อนประจำปี ( ไม่ใช่ลาพักร้อน )ข้าราชการปีหนึ่งลาพักผ่อนได้ 10 วันทำการ เว้นแต่ข้าราชการต่อไปนี้ รับราชการยังไม่ถึง 6 เดือน- ในกรณีบรรจุครั้งแรก
- ลาออกจากราชการเพราะเหตุส่วนตัว
- ลาออกเพื่อดำรงตำแหน่งทางการเมืองหรือเลือกตั้งในปีใดที่ข้าราชการไม่ได้ลาพักผ่อนลาไม่ครบ 10 วันทำการ ให้สะสมวันลาที่ยังไม่ลาในปีนั้นรวมกับปีต่อไปได้ แต่ไม่เกิน 20 วันทำการรับราชการมาแล้วติดต่อกันไม่น้อยกว่า 10 ปี สามารถลาพักผ่อนสะสมไม่เกิน 30 วันทำการข้าราชการที่ปฏิบัติราชการในโรงเรียน มีวันหยุดภาคเรียน หากได้หยุดราชการตามวันหยุดภาคการศึกษาเกิดกว่าลาพักผ่อน ไม่มีสิทธิลาพักผ่อนได้

การลาอุปสมบทหรือไปประกอบพิธีฮัทย์ให้ส่งใบลาขออนุญาตต่อเลขา กพฐ. ( ส่งใบลาให้ผอ.ร.ร.ก่อนไม่น้อยกว่า 60 วัน )ได้รับอนุญาตแล้วต้องอุปสมบทหรือออกเดินทาง ภายใน 10 วันกลับมารายงานตัวภายใน 5 วัน นับตั้งแต่ลาสิขา หรือเดินทางกลับถึงเมืองไทยลาบวชได้ไม่เกิน 120 วัน

การลาตรวจเลือก หรือเข้ารับการเตรียมพลคำว่าตรวจเลือก เรียกว่าคัดทหาร การลาตรวจเลือก ให้รายงานต่อผู้บังคับบัญชา ไม่น้อยกว่า 48 ชั่วโมง นับแต่ได้รับหมายเรียกโดยไม่ต้องรอคำสั่งอนุญาต ถ้าพ้นจากการตรวจเลือกจะต้องปฏิบัติราชการภายใน 7 วันเตรียมพล เมื่อได้รับใบแดงจะต้องแจ้งให้ผู้บังคับบัญชาทราบภายใน 48 ชั่วโมงออกจากทหาร ขอเข้ารับราชการภายใน 180 วันการลาศึกษา ฝึกอบรม ศึกษาปฏิบัติงานวิจัยผู้มีอำนาจอนุญาต คือ เลขา กพฐ. ( ในประเทศ มอบให้ ผอ.สพท. ต่างประเทศ เลขา กพฐ. )

การลาไปปฏิบัติงานในองค์กรระหว่างประเทศผู้มีอำนาจอนุญาตคือ รัฐมนตรีเจ้าสังกัด โดยไม่ได้รับเงินเดือน มี 2 ประเภท1. ประเภทที่ 1 ไม่เกิน 4 ปี- ประเทศไทยเป็นสมาชิก
- รัฐบาลมีข้อผูกพัน ตามข้อตกลงระหว่างประเทศ
- ส่งไปเพื่อรักษาผลประโยชน์ของประเทศ2. ประเภทที่ 2 ไม่เกิน 2 ปี
- รับราชการไม่น้อยกว่า 5 ปี ยกเว้น สหประชาชาติไม่น้อยกว่า 2 ปี
- อายุไม่เกิน 52 ปี และไม่เคยถูกลงโทษทางวินัยการลาติดตามคู่สมรสไปปฏิบัติงานต่างประเทศผู้อนุญาต คือ เลขา กพฐ. ลาได้ไม่เกิน 2 ปี ถ้าจำเป็นลาต่ออีกได้ 2 ปี รวมเวลา 4 ปี ถ้าเกินให้ลาออกผู้มีอำนาจอนุญาตในการลาผู้บริหารสถานศึกษา มีอำนาจอนุญาตการลาของผู้ใต้บังคับบัญชาดังนี้
- ลาป่วย ครั้งหนึ่งไม่เกิน 60 วันทำการ
- ลาคลอด ครั้งหนึ่งไม่เกิน 90 วันทำการ
- ลากิจส่วนตัว ครั้งหนึ่งไม่เกิน 30 วันทำการ


สรุปเกี่ยวกับการลาของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
การบริหารงานบุคคล วันนี้ ครูสุโขทัย ได้สรุปเกี่ยวกับการลาของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาให้กับผู้ที่มีความสนใจนะขอรับสรุปเกี่ยวกับการลาของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา1. การบังคับใช้1) ข้าราชการพลเรือน ข้าราชการครู ยกเว้นข้าราชการทหารและข้าราชการท้องถิ่น2) ให้ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีรักษาระเบียบนี้3) กรณีที่ไปช่วยราชการหากต้องการลาก็ขออนุญาตผู้บังคับบัญชาหน่วยงานที่ไปช่วยราชการแล้วให้ หน่วยงานนั้นแจ้งให้ต้นสังกัดทราบอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
2. การนับวันลา
1) ให้นับตามปีงบประมาณ
2) การนับวันลาที่นับเฉพาะวันทำการ
คือ - การลาป่วย ( ธรรมดา )
- การลากิจส่วนตัว
- การลาพักผ่อน
3) ข้าราชการที่ถูกเรียกกลับระหว่างลาให้ถือการลาหมดเขตเพียงวันก่อนเดินทางกลับและวันราชการ เริ่มนับตั้งแต่วันเดินทางกลับ

3. การลาครึ่งวันในการลาครึ่งวันในตอนเช้า หรือตอนบ่ายให้นับการลาเป็นครึ่งวันการลาให้ใช้ใบลาตามแบบ แต่กรณีจำเป็นหรือรีบด่วนจะใช้ใบลาตามวิธีอื่นก็ได้ แต่ต้องส่งใบลาตามแบบวันในวันแรกที่มาปฏิบัติราชการ
- ข้าราชการที่ประสงค์จะไปต่างประเทศระหว่างลา หรือวันหยุดราชการให้เสนอขออนุญาตต่อผู้บังคับบัญชาตามลำดับจนถึงอธิบดี ( เลขา กพฐ. )
- ข้าราชการส่วนภูมิภาค ขออนุญาตเดินทางไปต่างประเทศที่มีชายแดนติดต่อกับประเทศไทย ขออนุญาตต่อผู้ว่าราชการจังหวัดครั้งหนึ่งไม่เกิน 7 วัน หรือนายอำเภอไม่เกิน 3 วัน
- ข้าราชการผู้ใดไม่สามารถปฏิบัติงานราชการได้ เนื่องจากพฤติกรรมพิเศษ เช่น ฝนตกหนัก ถนนขาด ถูกจับเรียกค่าไถ่ โดยเกิดขึ้นกับบุคคลทั่วไป หรือพฤติกรรมที่เกิดขึ้นกับบุคคลนั้นไม่ได้เกิดจากความประมาทเลินเล่อจนเป็นเหตุขัดขวางไม่สามารถมาปฏิบัติราชการได้ให้รายงานต่อผู้บังคับบัญชาตามลำดับ จนถึงอธิบดี ( เลขา กพฐ. ) หรือผู้ว่าราชการจังหวัด
( สำหรับข้าราชการส่วนภูมิภาค)ทันทีที่มาปฏิบัติราชการได้ ถ้าอธิบดี พิจารณาว่าเป็นจริง ไม่นับเป็นวันลา ถ้าไม่จริงให้นับเป็นลากิจส่วนตัว********** ข้าราชการครูสังกัด สพฐ. เป็นข้าราชการส่วนกลาง***********

4. ประเภท ของการลามี 9 ประเภท ดังนี้
1. ลาป่วย
2. ลาคลอดบุตร
3. ลากิจส่วนตัว
4. ลาพักผ่อนประจำปี
5. ลาไปอุปสมบทหรือประกอบพิธีฮัทย์
6. ลาตรวจเลือกหรือเข้ารับการเตรียมพล
7. ลาศึกษาต่อ ศึกษาอบรมดูงาน หรือปฏิบัติงานวิจัย
8. ลาไปปฏิบัติงานในองค์กรระหว่างประเทศ
9. ลาติดตามคู่สมรสไปต่างประเทศ
ที่มาhttp://krusukhothai.blogspot.com/

วันอังคารที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2552

ทฤษฎีลำดับขั้นความต้องการ(Maslow’s Hierarchical Theory of Motivation)Maslow เชื่อว่าพฤติกรรมของมนุษย์เป็นจำนวนมากสามารถอธิบายโดยใช้แนวโน้มของบุคคลในการค้นหาเป้าหมายที่จะทำให้ชีวิตของเขาได้รับความต้องการ ความปรารถนา และได้รับสิ่งที่มีความหมายต่อตนเอง เป็นความจริงที่จะกล่าวว่ากระบวนการของแรงจูงใจเป็นหัวใจของทฤษฎีบุคลิกภาพของ Maslow โดยเขาเชื่อว่ามนุษย์เป็น “สัตว์ที่มีความต้องการ” (wanting animal) และเป็นการยากที่มนุษย์จะไปถึงขั้นของความพึงพอใจอย่างสมบูรณ์ ในทฤษฎีลำดับขั้นความต้องการของ Maslow เมื่อบุคคลปรารถนาที่จะได้รับความพึงพอใจและเมื่อบุคคลได้รับความพึงพอใจในสิ่งหนึ่งแล้วก็จะยังคงเรียกร้องความพึงพอใจสิ่งอื่นๆ ต่อไป ซึ่งถือเป็นคุณลักษณะของมนุษย์ ซึ่งเป็นผู้ที่มีความต้องการจะได้รับสิ่งต่างๆ อยู่เสมอ Maslow กล่าวว่าความปรารถนาของมนุษย์นั้นติดตัวมาแต่กำเนิดและความปรารถนาเหล่านี้จะเรียงลำดับขั้นของความปรารถนา ตั้งแต่ขั้นแรกไปสู่ความปรารถนาขั้นสูงขึ้นไปเป็นลำดับ ลำดับขั้นความต้องการของมนุษย์ ( The Need –Hierarchy Conception of Human Motivation ) Maslow เรียงลำดับความต้องการของมนุษย์จากขั้นต้นไปสู่ความต้องการขั้นต่อไปไว้เป็นลำดับดังนี้
1. ความต้องการทางด้านร่างกาย ( Physiological needs )
2. ความต้องการความปลอดภัย ( Safety needs )
3. ความต้องการความรักและความเป็นเจ้าของ ( Belongingness and love needs )
4. ความต้องการได้รับความนับถือยกย่อง ( Esteem needs )
5. ความต้องการที่จะเข้าใจตนเองอย่างแท้จริง ( Self-actualization needs )
ลำดับขั้นความต้องการของมาสโล มีการเรียงลำดับขั้นความต้องการที่อยู่ในขั้นต่ำสุด จะต้องได้รับความพึงพอใจเสียก่อนบุคคลจึงจะสามารถผ่านพ้นไปสู่ความต้องการที่อยู่ในขั้นสูงขึ้นตามลำดับดังจะอธิบายโดยละเอียดดังนี้
1. ความต้องการทางร่างกาย ( Physiological needs ) เป็นความต้องการขั้นพื้นฐานที่มีอำนาจมากที่สุดและสังเกตเห็นได้ชัดที่สุด จากความต้องการทั้งหมดเป็นความต้องการที่ช่วยการดำรงชีวิต ได้แก่ ความต้องการอาหาร น้ำดื่ม ออกซิเจน การพักผ่อนนอนหลับ ความต้องการทางเพศ ความต้องการความอบอุ่น ตลอดจนความต้องการที่จะถูกกระตุ้นอวัยวะรับสัมผัส แรงขับของร่างกายเหล่านี้จะเกี่ยวข้องโดยตรงกับความอยู่รอดของร่างกายและของอินทรีย์ ความพึงพอใจที่ได้รับ ในขั้นนี้จะกระตุ้นให้เกิดความต้องการในขั้นที่สูงกว่าและถ้าบุคคลใดประสบความล้มเหลวที่จะสนองความต้องการพื้นฐานนี้ก็จะไม่ได้รับการกระตุ้น ให้เกิดความต้องการในระดับที่สูงขึ้นอย่างไรก็ตาม ถ้าความต้องการอย่างหนึ่งยังไม่ได้รับความพึงพอใจ บุคคลก็จะอยู่ภายใต้ความต้องการนั้นตลอดไป ซึ่งทำให้ความต้องการอื่นๆ ไม่ปรากฏหรือกลายเป็นความต้องการระดับรองลงไป เช่น คนที่อดอยากหิวโหยเป็นเวลานานจะไม่สามารถสร้างสรรค์สิ่งที่มีประโยชน์ต่อโลกได้ บุคคลเช่นนี้จะหมกมุ่นอยู่กับการจัดหาบางสิ่งบางอย่างเพื่อให้มีอาหารไว้รับประทาน Maslowอธิบายต่อไปว่าบุคคลเหล่านี้จะมีความรู้สึกเป็นสุขอย่างเต็มที่เมื่อมีอาหารเพียงพอสำหรับเขาและจะไม่ต้องการสิ่งอื่นใดอีก ชีวิติของเขากล่าวได้ว่าเป็นเรื่องของการรับประทาน สิ่งอื่นๆ นอกจากนี้จะไม่มีความสำคัญไม่ว่าจะเป็นเสรีภาพ ความรัก ความรู้สึกต่อชุมชน การได้รับการยอมรับ และปรัชญาชีวิต บุคคลเช่นนี้มีชีวิตอยู่เพื่อที่จะรับประทานเพียงอย่างเดียวเท่านั้น ตัวอย่าง การขาดแคลนอาหารมีผลต่อพฤติกรรม ได้มีการทดลองและการศึกษาชีวประวัติเพื่อแสดงว่า ความต้องการทางด้านร่างกายเป็นเรื่องสำคัญที่จะเข้าใจพฤติกรรมมนุษย์ และได้พบผลว่าเกิดความเสียหายอย่างรุนแรงของพฤติกรรมซึ่งมีสาเหตุจากการขาดอาหารหรือน้ำติดต่อกันเป็นเวลานาน ตัวอย่างคือ เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 ในค่าย Nazi ซึ่งเป็นที่กักขังเชลย เชลยเหล่านั้นจะละทิ้งมาตรฐานทางศีลธรรมและค่านิยมต่างๆ ที่เขาเคยยึดถือภายใต้สภาพการณ์ปกติ เช่น ขโมยอาหารของคนอื่น หรือใช้วิธีการต่างๆ ที่จะได้รับอาหารเพิ่มขึ้น อีกตัวอย่างหนึ่งในปี ค.ศ. 1970 เครื่องบินของสายการบิน Peruvian ตกลงที่ฝั่งอ่าวอเมริกาใต้ผู้ที่รอดตายรวมทั้งพระนิกาย Catholic อาศัยการมีชีวิตอยู่รอดโดยการกินซากศพของผู้ที่ตายจากเครื่องบินตก จากปรากฏการณ์นี้ชี้ให้เห็นว่าเมื่อมนุษย์เกิดความหิวขึ้น จะมีอิทธิพลเหนือระดับศีลธรรมจรรยา จึงไม่ต้องสงสัยเลยว่ามนุษย์มีความต้องการทางด้านร่างกายเหนือความต้องการอื่นๆ และแรงผลักดันของความต้องการนี้ได้เกิดขึ้นกับบุคคลก่อนความต้องการอื่นๆ
2. ความต้องการความปลอดภัย(Safety needs)เมื่อความต้องการทางด้านร่างกายได้รับความพึงพอใจแล้วบุคคลก็จะพัฒนาการไปสู่ขั้นใหม่ต่อไป ซึ่งขั้นนี้เรียกว่าความต้องการความปลอดภัยหรือความรู้สึกมั่นคง (safety or security) Maslow กล่าวว่าความต้องการความปลอดภัยนี้จะสังเกตได้ง่ายในทารกและในเด็กเล็กๆ เนื่องจากทารกและเด็กเล็กๆ ต้องการความช่วยเหลือและต้องพึ่งพออาศัยผู้อื่น ตัวอย่าง ทารกจะรู้สึกกลัวเมื่อถูกทิ้งให้อยู่ตามลำพังหรือเมื่อเขาได้ยินเสียงดังๆ หรือเห็นแสงสว่างมาก ๆ แต่ประสบการณ์และการเรียนรู้จะทำให้ความรู้สึกกลัวหมดไป ดังคำพูดที่ว่า “ฉันไม่กลัวเสียงฟ้าร้องและฟ้าแลบอีกต่อไปแล้ว เพราะฉันรู้ธรรมชาติในการเกิดของมัน” พลังความต้องการความปลอดภัยจะเห็นได้ชัดเจนเช่นกันเมื่อเด็กเกิดความเจ็บป่วย ตัวอย่างเด็กที่ประสบอุบัติเหตุขาหักก็ตะรู้สึกกลัวและอาจแสดงออกด้วยอาการฝันร้ายและความต้องการที่จะได้รับความปกป้องคุ้มครองและการให้กำลังใจMaslow กล่าวเพิ่มเติมว่าพ่อแม่ที่เลี้ยงดูลูกอย่างไม่กวดขันและตามใจมากจนเกินไปจะไม่ทำให้เด็กเกิดความรู้สึกว่าได้รับความพึงพอใจจากความต้องการความปลอดภัยการให้นอนหรือให้กินไม่เป็นเวลาไม่เพียง แต่ทำให้เด็กสับสนเท่านั้นแต่ยังทำให้เด็กรู้สึกไม่มั่นคงในสิ่งแวดล้อมรอบๆ ตัวเขา สัมพันธภาพของพ่อแม่ที่ไม่ดีต่อกัน เช่น ทะเลาะกันทำร้ายร่างกายซึ่งกันและกัน พ่อแม่แยกกันอยู่ หย่า ตายจากไป สภาพการณ์เหล่านี้จะมีอิทธิพลต่อความรู้ที่ดีของเด็ก ทำให้เด็กรู้ว่าสิ่งแวดล้อมต่างๆ ไม่มั่นคง ไม่สามารถคาดการณ์ได้และนำไปสู่ความรู้สึกไม่ปลอดภัยความต้องการความปลอดภัยจะยังมีอิทธิพลต่อบุคคลแม้ว่าจะผ่านพ้นวัยเด็กไปแล้ว แม้ในบุคคลที่ทำงานในฐานะเป็นผู้คุ้มครอง เช่น ผู้รักษาเงิน นักบัญชี หรือทำงานเกี่ยวกับการประกันต่างๆ และผู้ที่ทำหน้าที่ให้การรักษาพยาบาลเพื่อความปลอดภัยของผู้อื่น เช่น แพทย์ พยาบาล แม้กระทั่งคนชรา บุคคลทั้งหมดที่กล่าวมานี้จะใฝ่หาความปลอดภัยของผู้อื่น เช่น แพทย์ พยาบาล แม้กระทั่งคนชรา บุคคลทั้งหมดที่กล่าวมานี้จะใฝ่หาความปลอดภัยด้วยกันทั้งสิ้น ศาสนาและปรัชญาที่มนุษย์ยึดถือทำให้เกิดความรู้สึกมั่นคง เพราะทำให้บุคคลได้จัดระบบของตัวเองให้มีเหตุผลและวิถีทางที่ทำให้บุคคลรู้สึก “ปลอดภัย” ความต้องการความปลอดภัยในเรื่องอื่นๆ จะเกี่ยวข้องกับการเผชิญกับสิ่งต่างๆ เหล่านี้ สงคราม อาชญากรรม น้ำท่วม แผ่นดินไหว การจลาจล ความสับสนไม่เป็นระเบียบของสังคม และเหตุการณ์อื่นๆ ที่คล้ายคลึงกับสภาพเหล่านี้Maslow ได้ให้ความคิดต่อไปว่าอาการโรคประสาทในผู้ใหญ่ โดยเฉพาะโรคประสาทชนิดย้ำคิด-ย้ำทำ (obsessive-compulsive neurotic) เป็นลักษณะเด่นชัดของการค้นหาความรู้สึกปลอดภัย ผู้ป่วยโรคประสาทจะแสดงพฤติกรรมว่าเขากำลังประสบเหตุการณ์ทที่ร้ายกาจและกำลังมีอันตรายต่างๆ เขาจึงต้องการมีใครสักคนที่ปกป้องคุ้มครองเขาและเป็นบุคคลที่มีความเข้มแข็งซึ่งเขาสามารถจะพึ่งพาอาศัยได้
3. ความต้องการความรักและความเป็นเจ้าของ (Belongingness and Love needs)ความต้องการความรักและความเป็นเจ้าของเป็นความต้องการขั้นที่ 3 ความต้องการนี้จะเกิดขึ้นเมื่อความต้องการทางด้านร่างกาย และความต้องการความปลอดภัยได้รับการตอบสนองแล้ว บุคคลต้องการได้รับความรักและความเป็นเจ้าของโดยการสร้างความสัมพันธ์กับผู้อื่น เช่น ความสัมพันธ์ภายในครอบครัวหรือกับผู้อื่น สมาชิกภายในกลุ่มจะเป็นเป้าหมายสำคัญสำหรับบุคคล กล่าวคือ บุคคลจะรู้สึกเจ็บปวดมากเมื่อถูกทอดทิ้งไม่มีใครยอมรับ หรือถูกตัดออกจากสังคม ไม่มีเพื่อน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อจำนวนเพื่อนๆ ญาติพี่น้อง สามีหรือภรรยาหรือลูกๆ ได้ลดน้อยลงไป นักเรียนที่เข้าโรงเรียนที่ห่างไกลบ้านจะเกิดความต้องการเป็นเจ้าของอย่างยิ่ง และจะแสวงหาอย่างมากที่จะได้รับการยอมรับจากกลุ่มเพื่อนMaslow คัดค้านกลุ่ม Freud ที่ว่าความรักเป็นผลมาจากการทดเทิดสัญชาตญาณทางเพศ (sublimation) สำหรับ Maslow ความรักไม่ใช่สัญลักษณ์ของเรื่องเพศ (sex) เขาอธิบายว่า ความรักที่แท้จริงจะเกี่ยวข้องกับความรู้สึกที่ดี ความสัมพันธ์ของความรักระหว่างคน 2 คน จะรวมถึงความรู้สึกนับถือซึ่งกันและกัน การยกย่องและความไว้วางใจแก่กัน นอกจากนี้ Maslow ยังย้ำว่าความต้องการความรักของคนจะเป็นความรักที่เป็นไปในลักษณะทั้งการรู้จักให้ความรักต่อผู้อื่นและรู้จักที่จะรับความรักจากผู้อื่น การได้รับความรักและได้รับการยอมรับจากผู้อื่นเป็นสิ่งที่ทำให้บุคคลเกิดความรู้สึกว่าตนเองมีคุณค่า บุคคลที่ขาดความรักก็จะรู้สึกว่าชีวิตไร้ค่ามีความรู้สึกอ้างว้างและเคียดแค้น กล่าวโดยสรุป Maslow มีความเห็นว่าบุคคลต้องการความรักและความรู้สึกเป็นเจ้าของ และการขาดสิ่งนี้มักจะเป็นสาเหตุให้เกิดความข้องคับใจและทำให้เกิดปัญหาการปรับตัวไม่ได้ และความยินดีในพฤติกรรมหรือความเจ็บป่วยทางด้านจิตใจในลักษณะต่างๆสิ่งที่ควรสังเกตประการหนึ่ง ก็คือมีบุคคลจำนวนมากที่มีความลำบากใจที่จะเปิดเผยตัวเองเมื่อมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดสนิทสนมกับเพศตรงข้ามเนื่องจากกลัวว่าจะถูกปฏิเสธความรู้สึกเช่นนี้ Maslow กล่าวว่าสืบเนื่องมาจากประสบการณ์ในวัยเด็ก การได้รับความรักหรือการขาดความรักในวัยเด็ก ย่อมมีผลกับการเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีวุฒิภาวะและการมีทัศนคติในเรื่องของความรัก Maslow เปรียบเทียบว่าความต้องการความรักก็เป็นเช่นเดียวกับรถยนต์ที่สร้างขึ้นมาโดยต้องการก๊าซหรือน้ำมันนั่นเอง (Maslow 1970 p. 170)
4. ความต้องการได้รับความนับถือยกย่อง ( Self-Esteem needs)เมื่อความต้องการได้รับความรักและการให้ความรักแก่ผู้อื่นเป็นไปอย่างมีเหตุผลและทำให้บุคคล เกิดความพึงพอใจแล้ว พลังผลักดันในขั้นที่ 3 ก็จะลดลงและมีความต้องการในขั้นต่อไปมาแทนที่ กล่าวคือมนุษย์ต้องการที่จะได้รับความนับถือยกย่องออกเป็น 2 ลักษณะ คือ ลักษณะแรกเป็นความต้องการนับถือตนเอง (self-respect) ส่วนลักษณะที่ 2 เป็นความต้องการได้รับการยกย่องนับถือจากผู้อื่น (esteem from others)4.1 ความต้องการนับถือตนเอง (self-respect) คือ ความต้องการมีอำนาจ มีความเชื่อมั่นในตนเอง มีความแข็งแรง มีความสามารถในตนเอง มีผลสัมฤทธิ์ไม่ต้องพึ่งพาอาศัยผู้อื่น และมีความเป็นอิสระ ทุกคนต้องการที่จะรู้สึกว่าเขามีคุณค่าและมีความสามารถที่จะประสบความสำเร็จในงานภาระกิจต่างๆ และมีชีวิตที่เด่นดัง4.2 ความต้องการได้รับการยกย่องนับถือจากผู้อื่น (esteem from others) คือ ความต้องการมีเกียรติยศ การได้รับยกย่อง ได้รับการยอมรับ ได้รับความสนใจ มีสถานภาพ มีชื่อเสียงเป็นที่กล่าวขาน และเป็นที่ชื่นชมยินดี มีความต้องการที่จะได้รับความยกย่องชมเชยในสิ่งที่เขากระทำซึ่งทำให้รู้สึกว่าตนเองมีคุณค่าว่าความสามารถของเขาได้รับการยอมรับจากผู้อื่น ความต้องการได้รับความนับถือยกย่อง ก็เป็นเช่นเดียวกับธรรมชาติของลำดับชั้นในเรื่องความต้องการด้านแรงจูงใจตามทัศนะของ Maslow ในเรื่องอื่นๆ ที่เกิดขึ้นภายในจิตนั่นคือ บุคคลจะแสวงหาความต้องการได้รับการยกย่องก็เมื่อภายหลังจาก ความต้องการความรักและความเป็นเจ้าของได้รับการตอบสนองความพึงพอใจของเขาแล้ว และ Maslow กล่าวว่ามันเป็นสิ่งที่เป็นไปได้ที่บุคคลจะย้อนกลับจากระดับขั้นความต้องการในขั้นที่ 4 กลับไปสู่ระดับขั้นที่ 3 อีกถ้าความต้องการระดับขั้นที่ 3 ซึ่งบุคคลได้รับไว้แล้วนั้นถูกกระทบกระเทือนหรือสูญสลายไปทันทีทันใด ดังตัวอย่างที่ Maslow นำมาอ้างคือหญิงสาวคนหนึ่งซึ่งเธอคิดว่าการตอบสนองความต้องการความรักของเธอได้ดำเนินไปด้วยดี แล้วเธอจึงทุ่มเทและเอาใจใส่ในธุรกิจของเธอ และได้ประสบความสำเร็จเป็นนักธุรกิจที่มีชื่อเสียงและอย่างไม่คาดฝันสามีได้ผละจากเธอไป ในเหตุการณ์เช่นนี้ปรากฏว่าเธอวางมือจากธุรกิจต่างๆ ในการที่จะส่งเสริมให้เธอได้รับความยกย่องนับถือ และหันมาใช้ความพยายามที่จะเรียกร้องสามีให้กลับคืนมา ซึ่งการกระทำเช่นนี้ของเธอเป็นตัวอย่างของความต้องการความรักซึ่งครั้งหนึ่งเธอได้รับแล้ว และถ้าเธอได้รับความพึงพอในความรักโดยสามีหวนกลับคืนมาเธอก็จะกลับไปเกี่ยวข้องในโลกธุรกิจอีกครั้งหนึ่ง ความพึงพอใจของความต้องการได้รับการยกย่องโดยทั่วๆ ไป เป็นความรู้สึกและทัศนคติของความเชื่อมั่นในตนเอง ความรู้สึกว่าตนเองมีคุณค่า การมีพละกำลัง การมีความสามารถ และความรู้สึกว่ามีชีวิตอยู่อย่างมีประโยชน์และเป็นบุคคลที่มีความจำเป็นต่อโลก ในทางตรงกันข้ามการขาดความรู้สึกต่างๆ ดังกล่าวนี้ย่อมนำไปสู่ความรู้สึกและทัศนคติของปมด้อยและความรู้สึกไม่พอเพียง เกิดความรู้สึกอ่อนแอและช่วยเหลือตนเองไม่ได้ สิ่งต่างๆ เหล่านี้เป็นการรับรู้ตนเองในทางนิเสธ (negative) ซึ่งอาจก่อให้เกิดความรู้สึกขลาดกลัวและรู้สึกว่าตนเองไม่มีประโยชน์และสิ้นหวังในสิ่งต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับความต้องการของชีวิต และประเมินตนเองต่ำกว่าชีวิตความเป็นอยู่กับการได้รับการยกย่อง และยอมรับจากผู้อื่นอย่างจริงใจมากกว่าการมีชื่อเสียงจากสถานภาพหรือการได้รับการประจบประแจง การได้รับความนับถือยกย่องเป็นผลมาจากความเพียรพยายามของบุคคล และความต้องการนี้อาจเกิดอันตรายขึ้นได้ถ้าบุคคลนั้นต้องการคำชมเชยจากผู้อื่นมากกว่าการยอมรับความจริงและเป็นที่ยอมรับกันว่าการได้รับความนับถือยกย่อง มีพื้นฐานจากการกระทำของบุคคลมากกว่าการควบคุมจากภายนอก
5. ความต้องการที่จะเข้าใจตนเองอย่างแท้จริง (Self-Actualization needs)
ถึงลำดับขั้นสุดท้าย ถ้าความต้องการลำดับขั้นก่อนๆ ได้ทำให้เกิดความพึงพอใจอย่างมีประสิทธิภาพ ความต้องการเข้าใจตนเองอย่างแท้จริงก็จะเกิดขึ้น Maslow อธิบายความต้องการเข้าใจตนองอย่างแท้จริง ว่าเป็นความปรารถนาในทุกสิ่งทุกอย่างซึ่งบุคคลสามารถจะได้รับอย่างเหมาะสมบุคคลที่ประสบผลสำเร็จในขั้นสูงสุดนี้จะใช้พลังอย่างเต็มที่ในสิ่งที่ท้าทายความสามารถและศักยภาพของเขาและมีความปรารถนาที่จะปรับปรุงตนเอง พลังแรงขับของเขาจะกระทำพฤติกรรมตรงกับความสามารถของตน กล่าวโดยสรุปการเข้าใจตนเองอย่างแท้จริงเป็นความต้องการอย่างหนึ่งของบุคคลที่จะบรรลุถึงวจุดสูงสุดของศักยภาพ เช่น “นักดนตรีก็ต้องใช้ความสามารถทางด้านดนตรี ศิลปินก็จะต้องวาดรูป กวีจะต้องเขียนโคลงกลอน ถ้าบุคคลเหล่านี้ได้บรรลุถึงเป้าหมายที่ตนตั้งไว้ก็เชื่อได้ว่าเขาเหล่านั้นเป็นคนที่รู้จักตนเองอย่างแท้จริง” Maslow ( 1970 : 46)ความต้องการที่จะเข้าใจตนเองอย่างแท้จริงจะดำเนินไปอย่างง่ายหรือเป็นไปโดยอัตโนมัติ โดยความเป็นจริงแล้ว Maslow เชื่อว่าคนเรามักจะกลัวตัวเองในสิ่งเหล่านี้ “ด้านที่ดีที่สุดของเรา ความสามารถพิเศษของเรา สิ่งที่ดีงามที่สุดของเรา พลังความสามารถ ความคิดสร้างสรรค์” Maslow (1962 : 58)ความต้องการเข้าใจตนเองอย่างแท้จริงมิได้มีแต่เฉพาะในศิลปินเท่านั้น คนทั่วๆ ไป เช่น นักกีฬา นักเรียน หรือแม้แต่กรรมกรก็สามารถจะมีความเข้าใจตนเองอย่างแท้จริงได้ถ้าทุกคนสามารถทำในสิ่งที่ตนต้องการให้ดีที่สุด รูปแบบเฉพาะของการเข้าใจตนเองอย่างแท้จริงจะมีความแตกต่างอย่างกว้างขวางจากคนหนึ่งไปสู่อีกคนหนึ่ง กล่าวได้ว่ามันคือระดับความต้องการที่แสดงความแตกต่างระหว่างบุคคลอย่างยิ่งใหญ่ที่สุดMaslow ได้ยกตัวอย่างของความต้องการเข้าใจตนเองอย่างแท้จริง ในกรณีของนักศึกษาชื่อ Mark ซึ่งเขาได้ศึกษาวิชาบุคลิกภาพเป็นระยะเวลายาวนานเพื่อเตรียมตัวเป็นนักจิตวิทยาคลีนิค นักทฤษฎีคนอื่นๆ อาจจะอธิบายว่าทำไมเขาจึงเลือกอาชีพนี้ ตัวอย่าง เช่น Freud อาจกล่าวว่ามันสัมพันธ์อย่างลึกซึ้งกับสิ่งที่เขาเก็บกด ความอยากรู้อยากเห็นในเรื่องเพศไว้ตั้งแต่วัยเด็ก ขณะที่ Adler อาจมองว่ามันเป็นความพยายามเพื่อชดเชยความรู้สึกด้อยบางอย่างในวัยเด็ก Skinner อาจมองว่าเป็นผลจากการถูกวางเงื่อนไขของชีวิตในอดีต ขณะที่ Bandura สัมพันธ์เรื่องนี้กับตัวแปรต่างๆ ทางการเรียนรู้ทางสังคม และ Kelly อาจพิจารณาว่า Mark กำลังจะพุ่งตรงไปเพื่อที่จะเป็นบุคคลที่เขาต้องการจะเป็นตัวอย่างที่แสดงถึง การมุ่งตรงไปสู่เป้าประสงค์ในอาชีพโดยความต้องการที่จะเข้าใจตนเองอย่างแท้จริงและถ้าจะพิจารณากรณีของ Mark ให้ลึกซึ่งยิ่งขึ้น ถ้า Mark ได้ผ่านกาเรียนวิชาจิตวิทยาจนครบหลักสูตรและได้เขียนวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาเอกและในที่สุดก็ได้รับปริญญาเอกทางจิตวิทยาคลีนิค สิ่งที่จะต้องวิเคราะห์ Mark ต่อไปก็คือ เมื่อเขาสำเร็จการศึกษาดังกล่าวแล้วถ้ามีบุคคลหนึ่งได้เสนองานให้เขาในตำแหน่งตำรวจสืบสวน ซึ่งงานในหน้าที่นีจะได้รับค่าตอบแทนอย่างสูงและได้รับผลประโยชน์พิเศษหลายๆ อย่างตลอดจนรับประกันการว่าจ้างและความมั่นคงสำหรับชีวิต เมื่อประสบเหตุการณ์เช่นนี้ Mark จะทำอย่างไร ถ้าคำตอบของเขาคือ “ตกลง” เขาก็จะย้อนกลับมาสู่ความต้องการระดับที่ 2 คือความต้องการความปลอดภัย สำหรับการวิเคราะห์ความเข้าใจตนเองอย่างแท้จริง Maslow กล่าวว่า “อะไรที่มนุษย์สามารถจะเป็นได้เขาจะต้องเป็นในสิ่งนั้น” เรื่องของ Mark เป็นตัวอย่างง่ายๆ ว่า ถ้าเขาตกลงเป็นตำรวจสืบสวน เขาก็จะไม่มีโอกาสที่จะเข้าใจตนเองอย่างแท้จริง ทำไมทุกๆ คนจึงไม่สัมฤทธิผลในการเข้าใจตนเองอย่างแท้จริง (Why Can’t All People Achieve Self-Actualization) ตามความคิดของ Maslow ส่วนมากมนุษย์แม้จะไม่ใช่ทั้งหมดที่ต้องการแสวงหาเพื่อให้เกิดความสมบูรณ์ภายในตน จากงานวิจัยของเขาทำให้ Maslow สรุปว่าการรู้ถึงศักยภาพของตนนั้นมาจากพลังตามธรรมชาติและจากความจำเป็นบังคับ ส่วนบุคคลที่มีพรสวรรค์มีจำนวนน้อยมากเพียง 1% ของประชากรที่ Maslow ประมาณ Maslow เชื่อว่าการนำศักยภาพของตนออกมาใช้เป็นสิ่งที่ยากมาก บุคคลมักไม่รู้ว่า ตนเองมีความสามารถและไม่ทราบว่าศักยภาพนั้นจะได้รับการส่งเสริมได้อย่างไร มนุษย์ส่วนใหญ่ยังคงไม่มั่นใจในตัวเองหรือไม่มั่นใจในความสามารถของตนจึงทำให้หมดโอกาสเข้าใจตนเองอย่างแท้จริง และยังมีสิ่งแวดล้อมทางสังคมที่มาบดบังพัฒนาการทางด้านความต้องการของบุคคลดังนี้ อิทธิพลของวัฒนธรรม ตัวอย่างหนึ่ง ที่แสดงให้เห็นว่าอิทธิพลของสังคมมีต่อการเข้าใจตนเอง คือแบบพิมพ์ของวัฒนธรรม (cultural stereotype) ซึ่งกำหนดว่าลักษณะเช่นไรที่แสดงความเป็นชาย (masculine) และลักษณะใดที่ไม่ใช่ความเป็นชาย เช่นจัดพฤติกรรมต่างๆ เหล่านี้ ความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น ความเมตตากรุณา ความสุภาพและความอ่อนโยน สิ่งเหล่านี้วัฒนธรรมมีแนวโน้มที่จะพิจารณาว่า “ไม่ใช่ลักษณะของความเป็นชาย” (unmasculine) หรือความเชื่อถือของวัฒนธรรมด้านอื่นๆ ซึ่งเป็นความเชื่อที่ไม่มีคุณค่า เช่น ยึดถือว่าบทบาทของผู้หญิงขึ้นอยู่กับจิตวิทยาพัฒนาการของผู้หญิง เป็นต้น การพิจารณาจากเกณฑ์ต่างๆ ดังกล่าวนี้เป็นเพียงการเข้าใจ “สภาพการณ์ที่ดี” มากกว่าเป็นเกณฑ์ของการเข้าใจตนเองอย่างแท้จริง ประการสุดท้าย Maslow ได้สรุปว่าการไม่เข้าใจตนเองอย่างแท้จริงเกิดจากความพยายามที่ไม่ถูกต้องของการแสวงหาความมั่นคงปลอดภัย เช่น การที่บุคคลสร้างความรู้สึกให้ผู้อื่นเกิดความพึงพอใจตนโดยพยายามหลีกเลี่ยงหรือขจัดข้อผิดพลาดต่างๆ ของตน บุคคลเช่นนี้จึงมีแนวโน้มที่จะพิทักษ์ความมั่นคงปลอดภัยของตน โดยแสดงพฤติกรรมในอดีตที่เคยประสบผลสำเร็จ แสวงหาความอบอุ่น และสร้างมนุษยสัมพันธ์กับผู้อื่น ซึ่งลักษณะเช่นนี้ย่อมขัดขวางวิถีทางที่จะเข้าใจตนเองอย่างแท้จริง
ที่มา :
http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=wbj&month=07-12-2007&group=29&gblog=3
วันที่ : 21/12/07

วันเสาร์ที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2552

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ (ฉบับที่ ๒)

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ (ฉบับที่ ๒)
พ.ศ. ๒๕๔๕
ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.
ให้ไว้ ณ วันที่ ๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๕
เป็นปีที่ ๕๗
ในรัชกาลปัจจุบันพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่าโดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภาดังต่อไปนี้มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า "พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๕"
มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา ๓ ให้ยกเลิกบทนิยามคำว่า "กระทรวง" ในมาตรา ๔ แห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน"กระทรวง" หมายความว่า กระทรวงศึกษาธิการ"
มาตรา ๔ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๔๒ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
"มาตรา ๕ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และมีอำนาจออกกฎกระทรวง ระเบียบ และประกาศ เพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้กฎกระทรวง ระเบียบ และประกาศนั้น เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้"มาตรา ๕ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๓๑ มาตรา 32มาตรา ๓๓ และมาตรา ๓๔ แห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๔๒ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน"มาตรา ๓๑ กระทรวงมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการส่งเสริม และกำกับดูแลการศึกษาทุกระดับและทุกประเภท กำหนดนโยบาย แผน และมาตรฐานการศึกษา สนับสนุนทรัพยากรเพื่อการศึกษาส่งเสริมและประสานงานการศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม และการกีฬาเพื่อการศึกษา รวมทั้งการติดตามตรวจสอบ และประเมินผลการจัดการศึกษาและราชการอื่นตามที่มีกฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกระทรวงหรือส่วนราชการที่สังกัดกระทรวง"มาตรา ๓๒ การจัดระเบียบบริหารราชการในกระทรวงให้มีองค์กรหลักที่เป็นคณะบุคคลในรูปสภาหรือในรูปคณะกรรมการจำนวนสี่องค์กร ได้แก่ สภาการศึกษา คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน คณะกรรมการการอาชีวศึกษา และคณะกรรมการการอุดมศึกษา เพื่อพิจารณาให้ความเห็นหรือให้คำแนะนำแก่รัฐมนตรี หรือคณะรัฐมนตรี และมีอำนาจหน้าที่อื่นตามที่กฎหมายกำหนดมาตรา ๓๓ สภาการศึกษา มีหน้าที่(๑) พิจารณาเสนอแผนการศึกษาแห่งชาติที่บูรณาการศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม และกีฬากับการศึกษาทุกระดับ(๒) พิจารณาเสนอนโยบาย แผน และมาตรฐานการศึกษาเพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามแผนตาม (๑)(๓) พิจารณาเสนอนโยบายและแผนในการสนับสนุนทรัพยากรเพื่อการศึกษา(๔) ดำเนินการประเมินผลการจัดการศึกษาตาม (๑)(๕) ให้ความเห็นหรือคำแนะนำเกี่ยวกับกฎหมายและกฎกระทรวงที่ออกตามความในพระราชบัญญัตินี้การเสนอนโยบาย แผนการศึกษาแห่งชาติ และมาตรฐานการศึกษา ให้เสนอต่อคณะรัฐมนตรีให้คณะกรรมการสภาการศึกษา ประกอบด้วย รัฐมนตรีเป็นประธาน กรรมการโดยตำแหน่งจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ผู้แทนองค์กรเอกชน ผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้แทนองค์กรวิชาชีพ พระภิกษุซึ่งเป็นผู้แทนคณะสงฆ์ ผู้แทนคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย ผู้แทนองค์กรศาสนาอื่น และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งมีจำนวนไม่น้อยกว่าจำนวนกรรมการประเภทอื่นรวมกันให้สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา เป็นนิติบุคคล และให้เลขาธิการสภาเป็นกรรมการและเลขานุการจำนวนกรรมการ คุณสมบัติ หลักเกณฑ์ วิธีการสรรหา การเลือกกรรมการ วาระการดำรงตำแหน่งและการพ้นจากตำแหน่ง ให้เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนดมาตรา ๓๔ คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีหน้าที่พิจารณาเสนอนโยบาย แผนพัฒนามาตรฐานและหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานที่สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและแผนการศึกษาแห่งชาติ การสนับสนุนทรัพยากร การติดตาม ตรวจสอบและประเมินผลการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานคณะกรรมการการอาชีวศึกษามีหน้าที่พิจารณาเสนอนโยบาย แผนพัฒนา มาตรฐานและหลักสูตรการ อาชีวศึกษาทุกระดับ ที่สอดคล้องกับความต้องการตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและแผนการศึกษาแห่งชาติ การส่งเสริมประสานงานการจัดการอาชีวศึกษาของรัฐและเอกชน การสนับสนุนทรัพยากร การติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการจัดการอาชีวศึกษา โดยคำนึงถึงคุณภาพและความเป็นเลิศทางวิชาชีพคณะกรรมการอุดมศึกษา มีหน้าที่พิจารณาเสนอนโยบาย แผนพัฒนา และมาตรฐานการอุดมศึกษา ที่สอดคล้องกับความต้องการตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และแผนการศึกษาแห่งชาติ การสนับสนุนทรัพยากร การติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษา โดยคำนึงถึงความเป็นอิสระและความเป็นเลิศทางวิชาการของสถานศึกษาระดับปริญญาตามกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งสถานศึกษาแต่ละแห่ง และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง"มาตรา ๖ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๓๗ มาตรา ๓๘ มาตรา ๓๙ และมาตรา ๔๐ แห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๔๒ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน"มาตรา ๓๗ การบริหารและการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานให้ยึดเขตพื้นที่การศึกษา โดยคำนึงถึงปริมาณสถานศึกษา จำนวนประชากร วัฒนธรรม และความเหมาะสมด้านอื่นด้วย เว้นแต่การจัดการศึกษาขึ้นพื้นฐานตามกฎหมายว่าด้วยการอาชีวศึกษาในกรณีที่เขตพื้นที่การศึกษาไม่อาจบริหารและจัดการได้ตามวรรคหนึ่ง กระทรวงอาจจัดให้มีการศึกษาขั้นพื้นฐานดังต่อไปนี้เพื่อเสริมการบริหารและการจัดการของเขตพื้นที่การศึกษาก็ได้(๑) การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานสำหรับบุคคลที่มีความบกพร่องทางร่างกาย จิตใจ สติปัญญา อารมณ์ สังคม การสื่อสารและการเรียนรู้ หรือมีร่างกายพิการ หรือทุพพลภาพ(๒) การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานที่จัดในรูปแบบการศึกษานอกระบบหรือการศึกษาตามอัธยาศัย(๓) การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานสำหรับบุคคลที่มีความสามารถพิเศษ(๔) การจัดการศึกษาทางไกล และการจัดการศึกษาที่ให้บริการในหลายเขตพื้นที่การศึกษา ให้รัฐมนตรีโดยคำแนะนำของสภาการศึกษา มีอำนาจประกาศในราชกิจจานุเบกษากำหนดเขตพื้นที่การศึกษามาตรา ๓๘ ในแต่ละเขตพื้นที่การศึกษา ให้มีคณะกรรมการและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มีอำนาจหน้าที่การกำกับดูแล จัดตั้ง ยุบ รวม หรือเลิกสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตพื้นที่การศึกษาประสาน ส่งเสริมและสนับสนุนสถานศึกษาเอกชนในเขตพื้นที่การศึกษา ประสานและส่งเสริมองค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่น ให้สามารถจัดการศึกษาสอดคล้องกับนโยบายและมาตรฐานการศึกษา ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการศึกษาของบุคคล ครอบครัว องค์กรชุมชน องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ และสถาบันสังคมอื่นที่จัดการศึกษาในรูปแบบที่หลากหลายในเขตพื้นที่การศึกษาคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษาประกอบด้วย ผู้แทนองค์กรชุมชน ผู้แทนองค์กรเอกชน ผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้แทนสมาคมผู้ประกอบวิชาชีพครู ผู้แทนสมาคมผู้ประกอบวิชาชีพบริหารการศึกษา ผู้แทนสมาคมผู้ปกครองและครู และผู้ทรงคุณวุฒิด้านการศึกษา ศาสนา ศิลปและวัฒนธรรม จำนวนกรรมการ คุณสมบัติ หลักเกณฑ์ วิธีการสรรหา การเลือกประธานกรรมการและกรรมการวาระการดำรงตำแหน่ง และการพ้นจากตำแหน่ง ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวงให้ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเป็นกรรมการและเลขานุการของคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษามาตรา ๓๙ ให้กระทรวงกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษา ทั้งด้านวิชาการ งบประมาณ การบริหารงานบุคคล และการบริหารทั่วไปไปยังคณะกรรมการ และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และสถานศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษาโดยตรงหลักเกณฑ์และวิธีการกระจายอำนาจดังกล่าว ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวงมาตรา ๔๐ ให้มีคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สถานศึกษาระดับอุดมศึกษาระดับต่ำกว่าปริญญา และสถานศึกษาอาชีวศึกษาของแต่ละสถานศึกษาเพื่อทำหน้าที่กำกับและส่งเสริม สนับสนุนกิจการของสถานศึกษา ประกอบด้วย ผู้แทนผู้ปกครอง ผู้แทนครู ผู้แทนองค์กรชุมชน ผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้แทนศิษย์เก่าของสถานศึกษา ผู้แทนพระภิกษุสงฆ์และหรือผู้แทนองค์กรศาสนาอื่นในพื้นที่ และผู้ทรงคุณวุฒิสถานศึกษาระดับอุดมศึกษาระดับต่ำกว่าปริญญาและสถานศึกษาอาชีวศึกษาอาจมีกรรมการเพิ่มขึ้นได้ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายกำหนดจำนวนกรรมการ คุณสมบัติ หลักเกณฑ์ วิธีการสรรหา การเลือกประธานกรรมการและกรรมการวาระการดำเนินตำแหน่ง และการพ้นจากตำแหน่ง ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวงให้ผู้บริหารสถานศึกษาเป็นกรรมการและเลขานุการของคณะกรรมการสถานศึกษาความในมาตรานี้ไม่ใช้บังคับแก่สถานศึกษาตามมาตรา ๑๘ (๑) และ (๓)"มาตรา ๗ ให้ยกเลิกความในวรรคสองของมาตรา ๔๕ แห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน"การกำหนดนโยบายและแผนการจัดการศึกษาของรัฐของเขตพื้นที่การศึกษาหรือขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้คำนึงถึงผลกระทบต่อการจัดการศึกษาของเอกชน โดยให้รัฐมนตรีหรือคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรับฟังความคิดเห็นของเอกชนและประชาชนประกอบการพิจารณาด้วย"มาตรา ๘ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๕๑ แห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน"มาตรา ๕๑ ในกรณีที่ผลการประเมินภายนอกของสถานศึกษาใดไม่ได้ตามมาตรฐานที่กำหนดให้สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา จัดทำข้อเสนอแนะ การปรับปรุงแก้ไขต่อหน่วยงานต้นสังกัด เพื่อให้สถานศึกษาปรับปรุงแก้ไขภายในระยะเวลาที่กำหนด หากมิได้ดำเนินการดังกล่าว ให้สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษารายงานต่อคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน คณะกรรมการการอาชีวศึกษา หรือคณะกรรมการการอุดมศึกษา เพื่อดำเนินการให้มีการปรับปรุงแก้ไข"มาตรา ๙ ให้ยกเลิกในวรรคสองของมาตรา ๗๔ แห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๔๒ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน"เพื่อให้การปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้ในส่วนที่ต้องดำเนินการก่อนที่การจัดระบบบริหารการศึกษาตามหมวด ๕ ของพระราชบัญญัตินี้จะแล้วเสร็จ ให้กระทรวงศึกษาธิการ ทบวงมหาวิทยาลัยและคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ ทำหน้าที่ในส่วนที่เกี่ยวข้องแล้วแต่กรณี" ผู้รับสนองพระบรมราชโองการพันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตรนายกรัฐมนตรีหมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากรัฐบาลมีนโยบายปฏิรูประบบราชการโดยให้แยกภารกิจเกี่ยวกับงานด้านศิลปะและวัฒนธรรม ไปจัดตั้งเป็นกระทรวงวัฒนธรรม และโดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงการ บริหารและจัดการศึกษาของเขตพื้นที่การศึกษา ประกอบกับสมควรให้มีคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ทำหน้าที่พิจารณาเสนอนโยบาย แผนพัฒนา มาตรฐานและหลักสูตรการอาชีวศึกษาทุกระดับที่สอดคล้องกับความต้องการตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และแผนการศึกษาแห่งชาติ สนับสนุนทรัพยากร ติดตามตรวจสอบ และประเมินผลการจัดการอาชีวศึกษาด้วย จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ฉบับกฤษฎีกา เล่มที่ ๑๑๙ ตอนที่ ๑๒๓ ก.
ลงวันที่ ๑๙ ธันวาคม ๒๕๔๕.
(หน้า ๑๖-๒๑)
--------------------------------------------------------------------------------

บทเฉพาะกาล

บทเฉพาะกาล
------------------------
มาตรา ๗๐
บรรดาบทกฎหมาย กฎ ข้อบังคับ ระเบียบ ประกาศ และคำสั่ง เกี่ยวกับการศึกษา ศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม ที่ใช้บังคับอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ ใช้บังคับ ยังคงใช้บังคับได้ต่อไปจนกว่าจะได้มีการดำเนินการปรับปรุงแก้ไขตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้ ซึ่งต้องไม่เกินห้าปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
มาตรา ๗๑ ให้กระทรวง ทบวง กรม หน่วยงานการศึกษา และสถานศึกษา ที่มีอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับยังคงมีฐานะและอำนาจหน้าที่เช่นเดิม จนกว่าจะได้มีการจัดระบบการบริหารและการจัดการศึกษาตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้ ซึ่งต้องไม่เกินสามปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
มาตรา ๗๒ ในวาระเริ่มแรก มิให้นำบทบัญญัติ มาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง และมาตรา ๑๗ มาใช้บังคับ จนกว่าจะมีการดำเนินการให้เป็นไปตามบทบัญญัติดังกล่าว ซึ่งต้องไม่เกินห้าปีนับแต่วันที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยใช้บังคับ ภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้ดำเนินการออกกฎกระทรวง ตามมาตรา ๑๖ วรรคสอง และวรรคสี่ ให้แล้วเสร็จ ภายในหกปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้กระทรวงจัดให้มีการ ประเมินผลภายนอกครั้งแรกของสถานศึกษาทุกแห่ง
มาตรา ๗๓ ในวาระเริ่มแรก มิให้นำบทบัญญัติในหมวด ๕ การบริหาร และการจัดการศึกษา และหมวด ๗ ครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา มาใช้บังคับจนกว่าจะได้มีการดำเนินการให้เป็นไปตามบทบัญญัติในหมวดดังกล่าว รวมทั้งการแก้ไขปรับปรุงพระราชบัญญัติครู พุทธศักราช ๒๔๘๘ และพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครู พ.ศ. ๒๕๒๓ ซึ่งต้องไม่เกินสามปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
มาตรา ๗๔ ในวาระเริ่มแรกที่การจัดตั้งกระทรวงยังไม่แล้วเสร็จ ให้นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และรัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัย รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกกฎกระทรวง ระเบียบ และประกาศ เพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ ทั้งนี้ ในส่วนที่เกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของตน เพื่อให้การปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้ในส่วนที่ต้องดำเนินการก่อนที่การจัดระบบบริหารการศึกษาตามหมวด ๕ ของพระราชบัญญัตินี้จะแล้วเสร็จ ให้กระทรวงศึกษาธิการ ทบวงมหาวิทยาลัย และคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ ทำหน้าที่กระทรวงการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมตามพระราชบัญญัตินี้ โดยให้ทำหน้าที่ในส่วนที่เกี่ยวข้องแล้วแต่กรณี
มาตรา ๗๕ ให้จัดตั้งสำนักงานปฏิรูปการศึกษา ซึ่งเป็นองค์การมหาชน เฉพาะกิจที่จัดตั้งขึ้นโดยพระราชกฤษฎีกาที่ออกตามความในกฎหมายว่าด้วยองค์การมหาชน เพื่อทำหน้าที่ ดังต่อไปนี้ (๑) เสนอการจัดโครงสร้าง องค์กร การแบ่งส่วนงานตามที่บัญญัติไว้ในหมวด ๕ ของพระราชบัญญัตินี้ (๒) เสนอการจัดระบบครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษาตามที่บัญญัติไว้ในหมวด ๗ ของพระราชบัญญัตินี้ (๓) เสนอการจัดระบบทรัพยากรและการลงทุนเพื่อการศึกษาตามที่บัญญัติไว้ใน หมวด ๘ ของพระราชบัญญัตินี้ (๔) เสนอแนะเกี่ยวกับการร่างกฎหมายเพื่อรองรับการดำเนินการตาม (๑) (๒) และ (๓) ต่อคณะรัฐมนตรี (๕) เสนอแนะเกี่ยวกับการปรับปรุงแก้ไขกฎหมาย กฎ ข้อบังคับ ระเบียบ และคำสั่งที่บังคับใช้อยู่ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการตาม (๑) (๒) และ (๓) เพื่อให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัตินี้ต่อคณะรัฐมนตรี (๖) อำนาจหน้าที่อื่นตามที่กำหนดในกฎหมายว่าด้วยองค์การมหาชน ทั้งนี้ ให้คำนึงถึงความคิดเห็นของประชาชนประกอบด้วย
มาตรา ๗๖ ให้มีคณะกรรมการบริหารสำนักงานปฏิรูปการศึกษา จำนวน เก้าคน ประกอบด้วย ประธานกรรมการและกรรมการ ซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งจากผู้มีความรู้ ความสามารถ มีประสบการณ์ และมีความเชี่ยวชาญด้านการบริหารการศึกษา การบริหาร รัฐกิจการบริหารงานบุคคล การงบประมาณการเงินและการคลัง กฎหมายมหาชน และกฎหมายการศึกษา ทั้งนี้ จะต้องมีผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งมิใช่ข้าราชการหรือผู้ปฎิบัติงานในหน่วยงานของรัฐรวมอยู่ด้วย ไม่น้อยกว่าสามคน ให้คณะกรรมการบริหารมีอำนาจแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิเป็นที่ปรึกษา และแต่งตั้ง คณะอนุกรรมการเพื่อปฏิบัติการตามที่คณะกรรมการบริหารมอบหมายได้ ให้เลขาธิการสำนักงานปฏิรูปการศึกษา เป็นกรรมการและเลขานุการของ คณะกรรมการบริหาร และบริหารกิจการของสำนักงานปฏิรูปการศึกษาภายใต้การกำกับดูแลของคณะกรรมการบริหาร คณะกรรมการบริหารและเลขาธิการมีวาระการดำรงตำแหน่งวาระเดียว เป็นเวลาสามปี เมื่อครบวาระแล้วให้ยุบเลิกตำแหน่งและสำนักงานปฏิรูปการศึกษา
มาตรา ๗๗ ให้มีคณะกรรมการสรรหาคณะกรรมการบริหารสำนักงานปฏิรูป การศึกษาคณะหนึ่งจำนวนสิบห้าคน ทำหน้าที่คัดเลือกบุคคลที่สมควรได้รับการเสนอชื่อเป็นคณะกรรมการบริหารจำนวนสองเท่าของจำนวนประธานและกรรมการบริหาร เพื่อเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาแต่งตั้ง ประกอบด้วย (๑) ผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจำนวนห้าคน ได้แก่ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ปลัดทบวงมหาวิทยาลัย เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ และผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ (๒) อธิการบดีของสถาบันอุดมศึกษาของรัฐและเอกชนที่เป็นนิติบุคคล ซึ่งคัดเลือกกันเองจำนวนสองคน และคณบดีคณะครุศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ หรือการศึกษาทั้งของรัฐและเอกชนที่มีการสอนระดับปริญญาในสาขาวิชาครุศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ หรือการศึกษา ซึ่งคัดเลือกกันเองจำนวนสามคน ในจำนวนนี้จะต้องเป็นคณบดีคณะครุศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ หรือการศึกษาจากมหาวิทยาลัยของรัฐ ไม่น้อยกว่าหนึ่งคน (๓) ผู้แทนสมาคมวิชาการ หรือวิชาชีพด้านการศึกษาที่เป็นนิติบุคคล ซึ่งคัดเลือก กันเอง จำนวนห้าคน ให้คณะกรรมการสรรหาเลือกกรรมการสรรหาคนหนึ่ง เป็นประธานกรรมการ และเลือกกรรมการสรรหาอีกคนหนึ่งเป็นเลขานุการคณะกรรมการสรรหา
มาตรา ๗๘ ให้นายกรัฐมนตรีเป็นผู้รักษาการตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้ง สำนักงานปฏิรูปการศึกษา และมีอำนาจกำกับดูแลกิจการของสำนักงานตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยองค์การมหาชน นอกจากที่มีบัญญัติไว้แล้วในพระราชบัญญัตินี้ พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสำนักงานปฏิรูปการศึกษา อย่างน้อยต้องมีสาระสำคัญ ดังต่อไปนี้ (๑) องค์ประกอบ อำนาจหน้าที่ และวาระการดำรงตำแหน่งของคณะกรรมการ บริหาร ตามมาตรา ๗๕ และมาตรา ๗๖ (๒) องค์ประกอบ อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการสรรหา หลักเกณฑ์ วิธีการ สรรหา และการเสนอแต่งตั้งคณะกรรมการบริหาร ตามมาตรา ๗๗ (๓) คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามรวมทั้งการพ้นจากตำแหน่งของคณะกรรมการบริหาร เลขาธิการ และเจ้าหน้าที่ (๔) ทุน รายได้ งบประมาณ และทรัพย์สิน (๕) การบริหารงานบุคคล สวัสดิการ และสิทธิประโยชน์อื่น (๖) การกำกับดูแล การตรวจสอบ และการประเมินผลงาน (๗) การยุบเลิก (๘) ข้อกำหนดอื่น ๆ อันจำเป็นเพื่อให้กิจการดำเนินไปได้โดยเรียบร้อย และมีประสิทธิภาพ
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
นายชวน หลีกภัย
นายกรัฐมนตรี