วันอังคารที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2552


การบริหารงานทั่วไป
งานสารบรรณ ( ต่อ )

หนังสือที่ต้องปฏิบัติให้เร็วกว่าปกติเป็นหนังสือที่จะต้องจัดส่งหรือดำเนินการทางสารบรรณด้วยความเร็วเป็นพิเศษ แบ่งได้ 3 ประเภทคือ
1. ด่วนที่สุด ให้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติทันทีเมื่อได้รับหนังสือนั้น
2. ด่วนมาก ให้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติโดยเร็ว
3. ด่วน ให้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติเร็วกว่าปกติเท่าที่จะทำได้ให้ระบุชั้นความเร็วด้วยอักษรสีแดง ขนาดไม่เล็กกว่า ตัวพิมพ์โป้ง 32 พอยท์ให้เห็นชัดเจนบนหนังสือหรือบนซองในกรณีที่ที่อย่างให้หนังสือถึงมือผู้รับตามกำหนดให้ลงคำว่า ด่วนภายใน แล้วลงวันเดือน ปีและกำหนดเวลาที่ต้องการให้หนังสือนั้นไปถึงผู้รับ กับให้เจ้าหน้าที่ส่งถึงผู้รับซึ่งระบุหน้าซองภายในเวลาที่กำหนดหนังสือที่ต้องการให้ส่วนราชการอื่นทราบด้วย ให้รับรองหนังสือว่า สำเนาถูกต้อง ให้เจ้าหน้าที่ระดับ 2 หรือเทียบเท่าขึ้นไปรับรองเรื่องราชการที่จะดำเนินการหรือสั่งการด้วยหนังสือได้ไม่ทันให้ส่งข้อความทางเครื่องมือสื่อสารเช่น โทรเลข วิทยุโทรเลข โทรพิมพ์วิทยุ สื่อสาร วิทยุกระจายเสียง หรือวิทยุโทรทัศน์ เป็นต้นและให้ผู้รับ ปฏิบัติเช่นเดียวกับได้รับหนังสือ ในกรณีที่จำเป็นต้องยืนยันเป็นหนังสือให้ทำหนังสือยืนยืนตามไปทันทีการส่งข้อความทางเครื่องมือสื่อสารซึ่งไม่มีหลักฐานปรากฏชัดแจ้ง เช่นทางโทรศัพท์ วิทยุสื่อสาร วิทยุกระจายเสียง หรือวิทยุโทรทัศน์ เป็นต้น ให้ผู้ส่งและผู้รับบันทึกข้อความไว้เป็นหลักฐานหนังสือที่จัดทำขึ้นโดยปกติให้มี ( 3 ฉบับ )
1. ฉบับจริง
2. สำเนาคู่ฉบับเก็บไว้ที่ต้นเรื่อง 1 ฉบับ
3. สำเนาเก็บไว้ที่หน่วยงานสารบรรณกลาง 1 ฉบับ( สำเนาคู่ฉบับให้ผู้ลงชื่อลงลายมือชื่อ หรือลายมือชื่อย่อ และให้ผู้ร่าง ผู้พิมพ์ และผู้ตรวจ ลงลายมือชื่อหรือลายมือชื่อย่อไว้ที่ข้างล่างด้านขวาของหนังสือ )หนังสือที่เจ้าของหนังสือเห็นว่า มีส่วนราชการอื่นที่เกี่ยวข้องควรได้รับทราบด้วยโดยปกติให้ส่งสำเนาไปให้ทราบด้วยโดยทำเป็นหนังสือประทับตรา( สำเนาหนังสือนี้ให้คำรับรองว่า สำเนาถูกต้อง โดยให้เจ้าหน้าที่ตั้งแต่ระดับ 2 หรือเทียบเท่าขึ้นไป ซึ่งเป็นเจ้าของเรื่องลงลายมือชื่อรับรอง พร้อมทั้งลงชื่อตัวบรรจง และตำแหน่งที่ขอบล่างของหนังสือหนังสือเวียน คือหนังสือที่มีถึงผู้รับเป็นจำนวนมาก มีใจความอย่างเดียวกัน ให้เพิ่มรหัสตัวพยัญชนะ ว หน้าเลขทะเบียนหนังสือส่ง ซึ่งกำหนดเป็นตัวเลขที่หนังสือเวียนโดยเฉพาะเริ่มตั้งแต่เลข 1 เรียงเป็นลำดับไปจนถึงปีปฏิทิน หรือใช้เลขที่ของหนังสือทั่วไปตามแบบหนังสือภายนอกหนังสือต่างประเทศ ให้ใช้กระดาษตราครุฑ หนังสือที่เป็นภาษาอื่นที่ไม่ใช่ภาษาอังกฤษให้ใช้ตามประเพณีนิยมหนังสือที่เป็นภาษาอังกฤษ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1. หนังสือที่ลงชื่อ- หนังสือที่เป็นแบบพิธี (ใช้ติดต่อทางการทูต ระหว่างส่วนราชการไทยกับส่วนราชการต่างประเทศ)- หนังสือที่ไม่เป็นแบบพิธี ( ใช้ติดต่อระหว่างส่วนราชการไทยกับส่วนราชการต่างประเทศ)- หนังสือกลาง ( หนังสือที่ใช้สรรพนามบุรุษที่ 3 และประทับตราส่วนราชการ)
2. หนังสือที่ไม่ลงชื่อ- บันทึกช่วยจำ ( ยืนยันข้อความที่ได้สนทนา)- บันทึก ( แถลงรายละเอียด หรือข้อเท็จจริง)การรับและส่งหนังสือการรับหนังสือ ขั้นตอนการรับหนังสือ1. จัดลำดับความสำคัญและความเร่งด่วนของหนังสือ2. ลงทะเบียนตรารับหนังสือที่มุมด้านบนของหนังสือ
3. ลงทะเบียนรับหนังสือในทะเบียนหนังสือรับ4. จัดแยกหนังสือที่ลงทะเบียนรับแล้ว ส่งให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องดำเนินการโดยให้ลงชื่อหน่วยงานที่รับหนังสือนั้นในช่อง การปฏิบัติถ้ามีชื่อบุคคล หรือตำแหน่งที่เกี่ยวข้องกับการรับหนังสือให้ลงชื่อหรือตำแหน่งไว้ด้วยการส่งหนังสือขั้นตอนการส่งหนังสือ
1. ให้เจ้าของเรื่องตรวจสอบความเรียบร้อยของหนังสือ รวมทั้งสิ่งที่จะส่งไปด้วยให้ครบถ้วนแล้วส่งเรื่องให้เจ้าหน้าที่ของหน่วยงานสารบรรณกลางเพื่อส่งออก
2. เมื่อเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานสารบรรณกลางได้รับเรื่องแล้ว ให้ปฏิบัติ ดังนี้
- ลงทะเบียนส่งหนังสือในทะเบียนหนังสือ
- ข้อสอบ**จำให้ได้ลงเลขที่ และวัน เดือน ปี ในหนังสือที่จะส่งออกทั้งในต้นฉบับและสำเนาคู่ฉบับให้ตรงกับเลขทะเบียนส่ง และวัน เดือน ปี ในทะเบียนหนังสือส่ง
- ก่อนบรรจุซองให้เจ้าหน้าที่ของหน่วยงานสารบรรณกลางตรวจความเรียบร้อยของหนังสือตลอดจนสิ่งที่ส่งไปด้วยอีกครั้งหนึ่ง แล้วปิดผนึก- หนังสือที่ไม่มีความสำคัญมากนัก อาจส่งไปโดยวิธีพับยึดติดด้วยแถบกาวเย็บด้วยลวด หรือวิธีอื่นแทนการบรรจุซองการส่งหนังสือโดยทางไปรษณีย์ให้ถือปฏิบัติตามระเบียบ หรือวิธีการที่การสื่อสารแห่งประเทศไทยกำหนด
- การส่งหนังสือซึ่งมิใช่เป็นการส่งโดยการไปรษณีย์ เมื่อส่งหนังสือให้ผู้รับแล้ว ผู้ส่งต้องให้ผู้รับลงชื่อรับในสมุดส่งหนังสือหรือใบรับแล้วแต่กรณี
- ถ้าเป็นใบรับให้นำใบรับนั้นมาผนึกติดไว้ที่สำเนาคู่ฉบับวันนี้พอแค่นี้ก่อนนะครับ เดี๋ยวค่อยมาว่ากันต่อ

การบริหารทั่วไป

จะเสนอเกี่ยวกับการบริหารทั่วไป ซึ่งวันนี้จะสรุปเกี่ยวกับงานสารบรรณ ก็หวังว่าทุกท่านที่อ่านจะเข้าใจง่ายและสามารถนำไปใช้ได้ ก็เริ่มเลยละกันระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ.2526 ( ฉ.2 พ.ศ.2548 )
งานสารบรรณ หมายถึง งานที่เกี่ยวกับการบริหารเอกสาร เริ่มตั้งแต่ การจัดทำ การรับ การส่ง การเก็บรักษา การยืม จนถึงการทำลายหนังสือราชการ มี 6 ชนิด
1. หนังสือภายนอก คือ หนังสือที่ติดต่อราชการเป็นแบบพิธี โดยใช้กระดาษตราครุฑ เป็นหนังสือที่ติดต่อระหว่างส่วนราชการกับส่วนราชการ หรือส่วนราชการถึงหน่วยงานอื่นใดซึ่งมิใช่ส่วนราชการหรือส่วนราชการถึงบุคคลภายนอก
2. หนังสือภายใน คือหนังสือ ที่ติดต่อราชการเป็นแบบพิธีน้อยกว่าหนังสือภายนอก เป็นหนังสือที่ติดต่อภายในกระทรวง ทบวง กรม หรือจังหวัดเดียวกัน ใช้กระดาษบันทึกข้อความ
3. หนังสือประทับตรา คือหนังสือที่ใช้ประทับตราแทนการลงชื่อ ของหัวหน้าส่วนราชการระดับกรมขึ้นไป โดยให้หัวหน้าส่วนราชการระดับกองหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากหัวหน้าส่วนราชการระดับกรมขึ้นไปเป็นผู้รับผิดชอบลงชื่อย่อกำกับตรา หนังสือประทับตราให้ใช้ได้ทั้งส่วนราชการกับส่วนราชการและส่วนราชการกับบุคคลภายนอก ( เฉพาะในกรณีไม่ใช่เรื่องสำคัญ) เช่น- การขอรายละเอียดเพิ่มเติม- การส่งสำเนาหนังสือ สิ่งของ เอกสารหรือบรรณสาร- การตอบรับทราบที่ไม่เกี่ยวกับราชการสำคัญ หรือการเงิน- การแจ้งผลงานที่ได้ดำเนินการไปแล้วให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องทราบ- การเตือนเรื่องที่ค้าง- เรื่องซึ่งหัวหน้าส่วนราชการระดับกรมขึ้นไปกำหนดโดยทำเป็นคำสั่งให้ใช้หนังสือประทับตรา4. หนังสือสั่งการ มี 3 ชนิด
1. คำสั่ง คือบรรดาที่ข้อความที่ผู้บังคับบัญชา สั่งให้ปฏิบัติ โดยชอบด้วยกฎหมายใช้กระดาษตราครุฑ
2. ระเบียบ คือบรรดาข้อความที่ผู้มีอำนาจหน้าที่ได้วางเอาไว้ โดยอาศัยอำนาจของกฎหมายหรือไม่ก็ได้ เพื่อถือเป็นหลักปฏิบัติงานเป็นประจำ ใช้กระดาษตราครุฑ
3. ข้อบังคับ คือ บรรดาข้อความที่ผู้มีอำนาจหน้าที่ กำหนดให้ใช้ โดยอาศัยอำนาจของกฎหมายที่บัญญัติให้กระทำได้ ใช้กระดาษตราครุฑ

5. หนังสือประชาสัมพันธ์ แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่
1. ประกาศ คือบรรดาข้อความที่ทางราชการประกาศ หรือชี้แจงให้ทราบ หรือแนวทางปฏิบัติ ใช้กระดาษตราครุฑ
2. แถลงการณ์ คือบรรดาข้อความที่ทางราชการแถลงเพื่อทำความเข้าใจ ในกิจกรรมของทางราชการหรือเหตุการณ์หรือกรณีใดๆให้ทราบชัดเจนโดยทั่วกันใช้กระดาษตราครุฑ
3. ข่าว คือบรรดาที่ข้อความที่ทางราชการเห็นสมควรเผยแพร่ให้ทราบ ไม่ใช้กระดาษตราครุฑ

6. หนังสือที่เจ้าหน้าที่ทำขึ้นหรือรับไว้เป็นหลักฐานในราชการ มี ดังนี้
1. หนังสือรับรอง คือหนังสือที่ส่วนราชการออกให้เพื่อรับรองแก่บุคคล นิติบุคคลหรือหน่วยงาน เพื่อวัตถุประสงค์อย่างหนึ่ง อย่างใดให้ปรากฏแก่บุคคลโดยทั่วไปไม่จำเพาะเจาะจง ใช้กระดาษตราครุฑ
2. รายงานการประชุม คือบันทึกความคิดเห็นของผู้ประชุมผู้เข้าร่วมประชุมและมติของที่ประชุมไว้เป็นหลักฐาน ไม่ใช้กระดาษตราครุฑ ( ผู้ที่สำคัญที่สุดคือเลขานุการ ,หัวใจสำคัญที่สุดคือระเบียบวาระการประชุม)
3. บันทึก คือข้อความที่ผู้ใต้บังคับบัญชาเสนอต่อผู้บังคับบัญชา หรือผู้บังคับบัญชาสั่งการแก่ผู้ใต้บังคับบัญชาหรือข้อความที่เจ้าหน้าที่ หรือหน่วยงานระดับต่ำกว่าส่วนราชการระดับกรมติดต่อกันในการปฏิบัติราชการ โดยปกติให้ใช้กระดาษบันทึกข้อความ4. หนังสืออื่น คือหนังสือหรือเอกสารอื่นใดที่เกิดขึ้นเนื่องจากการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่เพื่อเป็นหลักฐานในทางราชการ ซึ่งรวมถึง ภาพถ่าย ฟิล์ม แถบบันทึกเสียง แถบบันทึกภาพและสื่อกลางบันทึกข้อมูลด้วย หรือหนังสือของบุคคลภายนอกที่ยื่นต่อเจ้าหน้าที่และเจ้าหน้าที่ได้รับเข้าทะเบียนรับหนังสือของทางราชการแล้วมีรูปแบบตามที่กระทรวง ทบวง กรมจะกำหนดขึ้นใช้ตามความเหมาะสม เว้นแต่มีแบบตามกฎหมายเฉพาะเรื่องให้ทำตามแบบ เช่นโฉนด แผนที่ แบบ ผนัง สัญญา หลักฐานการสืบสวนและสอบสวน และคำร้อง เป็นต้นสื่อกลางบันทึกข้อมูล หมายถึง สื่อใดๆที่อาจใช้บันทึกข้อมูลได้ด้วยอุปกรณ์ทางอิเลคทรอนิกส์ เช่น แผนบันทึกข้อมูล เทปแม่เหล็ก จานแม่เหล็ก แผ่นซีดี-อ่านอย่างเดียว หรือแผ่นดิจิทัลเอนกประสงค์ เป็นต้น

คุณธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา

คุณธรรมของผู้บริหารสถานศึกษาเพื่อให้ผู้ที่จะเข้าสู่ตำแหน่งได้ศึกษาคุณธรรมให้ลึกซึ่ง และสามารถนำไปใช้ในการทำงานได้คุณธรรมของผู้บริหารสถานศึกษาธรรมะ ข้อควรประพฤติปฏิบัติหลักธรรม หมวดหมู่แห่งธรรมคุณธรรม ความดีงามในจิตใจซึ่งทำให้เคยชินประพฤติดีธรรมะที่ดีงามที่ควรครองไว้ในใจจริยธรรม ธรรมะที่ดีงามที่แสดงออกทางกายวัฒนธรรม สิ่งดีงามที่ยึดถือปฏิบัติสืบทอดกันมาค่านิยม คุณธรรมพื้นฐานที่ยึดถือเป็นวิถีชีวิตมนุษยธรรม
ธรรมะพื้นฐานที่มนุษย์ควรยึดถือปฏิบัติ( ศีล 5 )คุณธรรมและจริยธรรมสำหรับผู้บริหารสถานศึกษา
- ข้อวัตรที่ผู้บริหารควรศึกษาควรรู้
- ข้อปฏิบัติที่ผู้บริหารควรยึดถือปฏิบัติ
- ข้อความดีที่ผู้บริหารควรนำมาครองใจ
คุณธรรมหลัก 4 ประการ ของอริสโตเติล
1. ความรอบคอบ
2. ความกล้าหาญ
3. การรู้จักประมาณ
4. ความยุติธรรม

พระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
1. การรักษาความสัตย์
2. การรู้จักข่มใจตัวเอง
3. การอดทน อดกลั้นและอดออม
4. การรู้จักละวางความชั่ว

ค่านิยมพื้นฐาน 5 ประการ
1. การพึ่งตนเอง
2. การประหยัดและอดออม
3. การมีระเบียบวินัย
4. การปฏิบัติตามคุณธรรม
5. รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์

ทศพิธราชธรรม
ธรรมของผู้ปกครอง
1. ทาน- การให้
2. ศีล – การควบคุมกายวาจา
3. บริจาค- การเสียสละ 4. อาชวะ – ซื่อตรง
5. มัทวะ – อ่อนโยน 6. ตบะ - ความเพียร7. อักโกธะ- ไม่โกรธ
8. อวิหิงสา- ไม่เบียดเบียน
9. ขันติ – อดทน
10. อวิโรธนะ – ไม่ผิดธรรม

พรหมวิหาร 4
คุณธรรมของท่านผู้เป็นใหญ่
1. เมตตา – รักใคร่
2. กรุณา – สงสาร
3. มุทิตา – พลอยยินดี
4. อุเบกขา – วางเฉยประโยชน์ - ทำให้ผู้อื่นรักใคร่ นับถือ จงรักภักดี- เป็นผู้มีน้ำใจนักกีฬา

อิทธิบาท 4
คุณธรรมเครื่องทำให้ประสบความสำเร็จ
1. ฉันทะ – พอใจ
2. วิริยะ – เพียร
3. จิตตะ-ฝักใฝ่
4. วิมังสา – ตริตรองประโยชน์ - พอใจในงาน ไม่เบื่อ มีความเพียร ศึกษาค้นคว้าปฏิบัติงานจนสำเร็จ

สังคหวัตถุ 4 คุณธรรมที่เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวใจคน
1. ทาน – ให้ปัน
2. ปิยวาจา – วาจาอ่อนหวาน
3. อัตถจริยา – ประพฤติประโยชน์ต่อผู้อื่น
4. สมานัตตา – ไม่ถือตัวประโยชน์ - ทำให้ผู้อื่นรักใคร่ นับถือ ยึดเหนี่ยวน้ำใจผู้อื่น

ธรรมมีอุปการะมาก
- สติสัมปชัญญะ ช่วยไม่ให้เกิดความเสียหาย
- นาถกรณธรรมหรือพหุการธรรม

สัปปุริสธรรม 7 ธรรมของสัตบุรุษ
1. ธัมมัญญุตา รู้จักเหตุ
2. อัตถัญญุตา รู้จักผล
3. อัตตัญญุตา รู้จักตน
4. มัตตัญญุตา รู้จักประมาณ
5. กาลัญญุตา รู้จักกาล
6. ปริสัญญุตา รู้จักชุมชน
7. ปุคคลัญญุตา รู้จักคนควรคบ( บุคคล)
ประโยชน์ข้อ 1 – 2 ช่วยให้มีเหตุผลไม่งมงายข้อ 3 – 4 ช่วยให้รู้จักวางตัวเหมาะสมข้อ 5 ช่วยให้เป็นผู้ทันสมัยก้าวหน้าในงานข้อ 6 – 7 ช่วยให้รู้เท่าทันเหตุการณ์

อธิษฐานธรรม
ธรรมที่ควรตั้งไว้ในใจ
1. ปัญญา - รอบรู้
2. สัจจะ - ความจริงใจ
3. จาคะ – สละสิ่งที่ไม่จริงใจ
4. อุปสมะ – สงบใจ

ขันติโสรัจจะ – ธรรมอันทำให้งาม ความอดทน สงบเสงี่ยม เป็นเครื่องประดับของนักปราชญ์หิริโอตตัปปะ – ธรรมเป็นโลกบาลหรือธรรมคุ้มครองโลก
หิริ – ละอายในการทำบาป
โอตตัปปะ – เกรงกลัวต่อบาปและผลแห่งบาป

อคติ 4 - สิ่งที่ไม่ควรประพฤติ
1. ฉันทาคติ - ลำเอียงเพราะรัก
2. โทสาคติ – ลำเอียงเพราะชัง
3. โมหาคติ - ลำเอียงเพราะเขลา
4. ภยาคติ - ลำเอียงเพราะกลัว
พละ 5 - ธรรมเป็นกำลัง 5 อย่าง ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา

เบญจธรรม - ศีล 5 ข้อ ควรงดเว้น 5 ประการ ทำให้ก้าวหน้าในชีวิต เกิดความสบายใจไม่ทุกข์ร้อน

นิวรณ์ 5 - ธรรมอันกั้นจิตไม่ให้บรรลุความดี
1. กามฉันท์ - ใคร่ในกาม
2. พยาบาท - ปองร้าย
3. ถีนมิทธ - ง่วงเหงา
4. อุทธัจจกุกกุจจะ - ฟุ้งซ่าน
5. วิจิกิจฉา – ลังเล สงสัย

มรรค 8 - แม่บทแห่งการปฏิบัติของบุคคล
1. สัมมาทิฏฐิ - ปัญญาชอบ
2. สัมมาสังกัปปะ - ดำริชอบ
3. สัมมาวาจา - เจรจาชอบ
4. สัมมากัมมันตะ - ทำการงานชอบ
5. สัมมาอาชีวะ - เลี้ยงชีวิตชอบ
6. สัมมาวายามะ - เพียรชอบ
7. สัมมาสติ - ระลึกชอบ
8. สัมมาสมาธิ - ตั้งใจชอบ

เวสารัชชกรณธรรม - ธรรมทำความกล้าหาญ 5 อย่าง
1. สัทธา - ทำให้ใจหนักแน่น
2. ศีล - บังคับตนไม่ทำผิด
3. พาหะสัจจะ - ทำงานตามหลักวิชา
4. วิริยารัมภะ - ป้องกันความโลเล5. ปัญญา - ช่วยให้เห็นทางถูกผิด

อภิณหปัจจเวกขณ์
- ธรรมแห่งความไม่ประมาท
- การพิจารณาเป็นประจำในเรื่องความแก่ เจ็บ ตาย การพลัดพราก กรรมทำให้ไม่ประมาทในการสร้างกรรมดีสาราณิยธรรม
- ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความระลึกถึงอปริหานิยธรรม
- ธรรมไม่เป็นที่ตั้งแห่งความเสื่อมฆราวาสธรรม
- ธรรมของผู้ครองเรือน
1. สัจจะ – สัตย์ซื่อแก่กัน
2. ทมะ – รู้จักข่มจิตของตน
3. ขันติ – อดทน
4. จาคะ – สละให้เป็นสิ่งของของตนแก่คนที่ควร

กุศลกรรมบท - ทางแห่งความดี 10 อย่าง
กายสุจริต 3
วจีสุจริต 4
มโนสุจริต 3
ปธาน - ความเพียร 4 อย่าง
1. สังวรปธาน - เพียรไม่ให้เกิดบาป
2. ปหานปธาน - เพียรละบาป
3. ภาวนาปธาน – เพียรให้กุศลเกิด
4. อนุรักษขนาปธาน – เพียรรักษากุศลบุญ
กิริยาวัตถุ 3 - หลักของการทำบุญ
1. ทานมัย – บริจาคทาน
2. ศีลมัย – รักษาศีล
3. ภาวนามัย – เจริญภาวนา

ทิศ 6 - บุคคล 6 ประเภท
1. ปุรัตถิมทิศ - ทิศเบื้องหน้า ( บิดา มารดา )
2. ทักขิณทิศ - ทิศเบื้องขวา ( ครูบา อาจารย์ )
3. ปัจฉิมทิศ - ทิศเบื้องหลัง ( บุตร ภรรยา )
4. อุตตรทิศ - ทิศเบื้องซ้าย ( มิตร สหาย )
5. เหฏฐิมทิศ - ทิศเบื้องต่ำ ( ผู้ใต้บังคับบัญชา บ่าว )
6. อุปริมทิศ - ทิศเบื้องบน ( ผู้บังคับบัญชา สมณพราหมณ์ )

โลกธรรม 8 - ธรรมดาของโลก แบ่งเป็น 2 ฝ่าย
1. อฏฐารมณ์ 4 - ฝ่ายได้ ได้ลาภ ได้ยศ ได้รับการสรรเสริญ ได้สุข
2. อนิฏฐารมณ์ 4 ฝ่ายเสื่อม เสื่อมลาภ เสื่อมยศ ถูกนินทา ได้ทุกข์

อริยทรัพย์ 7 - ความดีที่มีในสันดานอย่างประเสริฐ
1. ศรัทธา
2. ศีล
3. หิริ
4. โอตตัปปะ
5. พาหุสัจจะ
6. จาคะ
7. ปัญญา

อริยสัจ 4 ความจริงอันประเสริฐ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค

ขันธ์ 5 รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณสามัญลักษณะ

ไตรลักษณ์ ลักษณะที่เสมอกันแก่สังขารทั้งปวง
1. อนิจจตา ไตรลักษณ์ ลักษณะที่เสมอกันแก่สังขารทั้งปวง
2. ทุกขตา ความเป็นทุกข์
3. อนัตตา ความไม่ใช่ของตน

จักรธรรม 4 ธรรมเหมือนวงล้อนำสู่ความเจริญ
1. ปฏิรูปเทสวาหะ อยู่ในประเทศอันควร
2. สัปปุริสูบัสสยะ คบสัตบุรุษ
3. อัตตสัมมาปณิธิ ตั้งตนไว้ชอบ
4. ปุพเพกตปุญญตา ทำดีไว้ในปางก่อน

ธรรมะกับหลักการบริหาร
1. นิคัญเห นิคคัญหารหัง ข่มคนที่คนข่ม
2. ปัคคัญเห ปัคคัญหารหัง ยกย่องคนที่ควรยกย่อง
3. ทิฏฐานุคติ ทำตัวเป็นแบบอย่างที่ดี

การเข้าถึงพระธรรม 3 ขั้น
1. ปริยัติธรรม ศึกษาหลักคำสอน
2. ปฏิบัติธรรม ลงมือปฏิบัติธรรม
3. ปฏิเวชธรรม ได้รับผลวัฒนธรรม

ลักษณะที่แสดงถึงความเจริญ เป็นระเบียบก้าวหน้าและมีศีลธรรมวัฒนธรรมไทย แบ่งออกเป็น 4 อย่าง
1. คติธรรม ทางหรือหลักในการดำเนินชีวิต เกี่ยวกับจิตใจ
2. เนติธรรม เกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่ของบุคคล
3. วัตถุธรรม เกี่ยวกับความสะดวกสบายใจในการครองชีพ ปัจจัย 4 ศิลปะ
4. สหธรรม คุณธรรมทำให้คนอยู่ร่วมกันอย่างมีระเบียบ มารยาทประเพณี สิ่งที่ปฏิบัติสืบต่อกันมาอารยธรรม ความเจริญที่สูงเด่นเมื่อเปรียบเทียบกับวัฒนธรรมผู้อื่นจรรยาวิชาชีพ กฎเกณฑ์ความประพฤติ มารยาทในการประกอบอาชีพจรรยาบรรณ ประมวลกฎเกณฑ์ ความประพฤติ มารยาทของผู้ประกอบอาชีพ


เครื่องราชอิสริยาภรณ์

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ ก็เลยนำให้ทุกๆได้อ่านกันหวังว่าจะนำไปใช้ในการสอบได้เครื่องราชอิสริยาภรณ์ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก และเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย พ.ศ.2536
1. เครื่องราชอิสริยาภรณ์ หมายความว่า เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ตามกฎหมายว่าด้วยเครื่องราชอิสริยาภรณ์ช้างเผือก หรือเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทยตามกฎหมายว่าด้วยเครื่องราชอิสริยาภรณ์มงกุฎไทย แล้วแต่กรณี
2. ให้นายกรัฐมนตรีรักษาการตามระเบียบนี้การเสนอขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ให้เริ่มจากเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย มีจำนวน 8 ชั้นตรา และเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก มีจำนวน 8 ชั้นตรา สลับกัน โดยเลื่อนชั้นตราตามลำดับจากชั้นล่างสุดจนถึงชั้นสูงสุดตามลำดับ ดังนี้
1. ชั้นที่ 7 เหรียญเงินมงกุฎไทย ( ร.ง.ม. )
2. ชั้นที่ 7 เหรียญเงินช้างเผือก ( ร.ง.ช. )
3. ชั้นที่ 6 เหรียญทองมงกุฎไทย ( ร.ท.ม.)
4. ชั้นที่ 6 เหรียญทองช้างเผือก (ร.ท.ช.)
5. ชั้นที่ 5 เบญจมาภรณ์มงกุฎไทย (บ.ม.)
6. ชั้นที่ 5 เบญจมาภรณ์ช้างเผือก (บ.ช.)
7. ชั้นที่ 4 จัตุรถาภรณ์มงกุฎไทย (จ.ม.)
8. ชั้นที่ 4 จัตุรถาภรณ์ช้างเผือก (จ.ช.)
9. ชั้นที่ 3 ตริตาภรณ์มงกุฎไทย (ต.ม.)
10. ชั้นที่ 3 ตริตาภรณ์ช้างเผือก (ต.ช.)
11. ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย (ท.ม.)
12. ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก (ท.ช.)
13. ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม)
14. ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)
15. ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)
16. ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)
โดยให้พิจารณาถึงตำแหน่ง ระดับ ชั้น ชั้นยศ กำหนดระยะเวลา และความดีความชอบ เว้นแต่จะได้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่นในระเบียบนี้

การเลื่อนขั้นเงินเดือน

การพิจารณาการเลื่อนขั้นเงินเดือนซึ่งจะนำไปใช้ในการสอบดังนี้กฎ ก.พ. ว่าด้วยการเลื่อนขั้นเงินเดือน 2544ปีงบประมาณ เลื่อนขั้นเงินเดือน 2 ครั้ง ครั้งที่ 1 ( ครึ่งปีแรก ) 1 ตุลาคม ถึง 31 มีนาคม ให้เลื่อนขั้นในวันที่ 1 เมษายนครั้งที่ 2 ( ครั้งปี หลัง) 1 เมษายน ถึง 30 กันยายน ให้เลื่อนขั้นเงินเดือนในวันที่ 1 ตุลาคมหลักเกณฑ์การลาบ่อยครั้งและมาทำงานสาย1. การลาบ่อยครั้ง- ข้าราชการปฏิบัติงานตามโรงเรียน ลาเกิน 6 ครั้ง- ข้าราชการปฏิบัติงานตามสำนักงาน ลาเกิน 8 ครั้ง**
ข้าราชการที่ลาเกินครั้งที่กำหนด ถ้าวันลาไม่เกิน 15 วัน และมีผลงานดีเด่นอาจผ่อนผันให้เลื่อนเงินเดือนได้********2. มาทำงานสายเนื่องๆ- ข้าราชการปฏิบัติงานตามโรงเรียน มาทำงานสายเกิน 8 ครั้ง- ข้าราชการปฏิบัติงานตามสำนักงาน มาทำงานสายเกิน 9 ครั้ง*********
ข้าราชการครูที่ลาบ่อยครั้ง / มาทำงานสายเนืองๆไม่ได้รับการขึ้นเงินเดือน************
การแบ่งกลุ่มพิจารณา
- กลุ่มข้าราชการในสถานศึกษา- กลุ่มผู้บริหารสถานศึกษา
- กลุ่มที่ปฏิบัติงานใน สพท.- กลุ่มระดับ 9 ขึ้นไป ส่งไปให้กรมประเมินให้การประเมินประสิทธิภาพ- ผอ.โรงเรียนประเมินครูในโรงเรียน- ผอ.เขต ประเมินผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ในสำนักงาน- ผู้ประเมินและรับการประเมินตกลงร่วมกันในรายละเอียดการประเมินแบ่งการประเมิน ดังนี้
- ผลการประเมินดีเด่น ได้คะแนนประเมินไม่ต่ำกว่า 90-100% อยู่ในเกณฑ์ ได้เลื่อนขั้น 1 ขั้น- ผลการประเมินเป็นที่ยอมรับได้ ได้รับคะแนนประเมินไม่ต่ำกว่า 60-89% อยู่ในเกณฑ์ ได้เลื่อนขั้น 0.5 ขั้น- ผลการประเมินต้องปรับปรุง ระดับคะแนนประเมินต่ำกว่า 60% ไม่ควรเลื่อนขั้นเงินเดือนการตั้งคณะกรรมการพิจารณา- คณะกรรมการส่วนกลาง- ระดับ สพฐ.
- ระดับเขตพื้นที่การศึกษา
- ระดับสถานศึกษา
- ผู้บริหารสถานศึกษา
ประธานกรรมการ- รองผู้อำนวยการสถานศึกษา กรรมการ(ถ้ามี)
- ผู้แทนหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้จำนวน 1-4 คน กรรมการ
- ผู้แทนข้าราชการครูในสถานศึกษา จำนวน 1-4 คน กรรมการประธานเลือกกรรมการคนใดคนหนึ่งเป็นเลขานุการบัญชีรายละเอียดเพื่อพิจารณาเงินเดือน มี 5 บัญชี ดังนี้หมายเลข 1 บัญชีผู้ได้รับการพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือน 1.5 ขั้น ใช้เฉพาะการเลื่อนขั้นเงินเดือนครั้งที่ 2 ( 1 ตุลาคม ) เท่านั้นหมายเลข 2 ผู้ได้รับการพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือน 1 ขั้นหมายเลข 3 ผู้ได้รับการพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือน 0.5 ขั้นหมายเลข 4 ผู้ไม่ได้รับการเลื่อนขั้นเงินเดือนหมายเลข 5 บัญชีแสดงการสำรองวงเงินเลื่อนขั้นเงินเดือนวันนี้พอแค่นี้ก่อนสรุปได้แค่นี้ คงมีประโยชน์กับผู้อ่านไม่มากก็น้อย ถ้ามีประโยชน์ก็ส่งผลบุญมาให้บ้างละกันนะขอรับ บ๊ายบาย

สรุปเกี่ยวกับการลา(2)

รายละเอียดของการลาแต่ละประเภทก็แล้วกันนะขอรับ..........
การลาป่วยให้เสนอจัดส่งใบลาก่อนหรือในวันที่ลา เว้นกรณีจำเป็นเสนอส่งใบลาในวันที่ปฏิบัติการได้ถ้าผู้ป่วยไม่สามารถลงชื่อในใบลาได้ ให้ผู้ยื่นลงชื่อแทนได้ แต่ถ้าสามารถเขียนได้ให้ส่งใบลาโดยเร็ว

การลาป่วยตั้งแต่ 30 วันขึ้นไป ต้องมีใบรับรองแพทย์การลาคลอดบุตรให้ส่งใบลาก่อนหรือในวันที่ลา ลงชื่อไม่ได้ให้ผู้อื่นลงแทนได้ ลงชื่อได้จัดส่งใบลาโดยเร็ว
สิทธิในการลาคลอดบุตรได้ 90 วัน โดยได้รับเงินเดือนโดยไม่ต้องมีใบรับรองแพทย์ อัตราจ้างสามารถลาได้ 45 วันทำการ โดยได้รับเงินเดือน อีก 45 วันให้รับการประกันสังคมข้าราชการที่

ลาเลี้ยงดูบุตร มีสิทธิลากิจส่วนตัวเพื่อเลี้ยงดูบุตรต่อเนื่องจาการลาคลอดบุตร ไม่เกิน 30 วันทำการ โดยได้รับเงินเดือน ถ้าประสงค์จะลาต่ออีกลาได้อีกไม่เกิน 150 ทำการโดยไม่มีสิทธิได้รับเงินเดือนลากิจส่วนตัว + เลี้ยงดูบุตรได้ปีละไม่เกิน 45 วันทำการก

ารลากิจส่วนตัวแม้ยังไม่ครบกำหนด ผู้บังคับบัญชาสามารถเรียกมาปฏิบัติราชการก็ได้การลาคลอดบุตร คาบเกี่ยวกับการลาประเภทใดให้ถือว่าการลาประเภทนั้นสิ้นสุดลงและนับเป็นการลาคลอดบุตรต่อการลากิจส่วนตัวเพื่อเลี้ยงดูบุตร ผู้บังคับบัญชาไม่สามารถเรียกมาปฏิบัติราชการได้การลากิจส่วนตัวการลากิจส่วนตัว ต้องส่งใบลาก่อนเมื่อได้รับอนุญาตแล้วจึงหยุดราชการได้ เว้นแต่เหตุจำเป็นให้หยุดราชการไปก่อนและชี้แจ้งเหตุผลให้ทราบโดยเร็ว ถ้ามีเหตุพิเศษไม่อาจปฏิบัติได้ตามที่กล่าวมาให้เสนอจัดส่งใบลาพร้อมชี้แจงเหตุผลในวันแรกที่มาปฏิบัติราชการลากิจไม่เกิน 45 วันทำการ/ปีการลาพักผ่อนประจำปี ( ไม่ใช่ลาพักร้อน )ข้าราชการปีหนึ่งลาพักผ่อนได้ 10 วันทำการ เว้นแต่ข้าราชการต่อไปนี้ รับราชการยังไม่ถึง 6 เดือน- ในกรณีบรรจุครั้งแรก
- ลาออกจากราชการเพราะเหตุส่วนตัว
- ลาออกเพื่อดำรงตำแหน่งทางการเมืองหรือเลือกตั้งในปีใดที่ข้าราชการไม่ได้ลาพักผ่อนลาไม่ครบ 10 วันทำการ ให้สะสมวันลาที่ยังไม่ลาในปีนั้นรวมกับปีต่อไปได้ แต่ไม่เกิน 20 วันทำการรับราชการมาแล้วติดต่อกันไม่น้อยกว่า 10 ปี สามารถลาพักผ่อนสะสมไม่เกิน 30 วันทำการข้าราชการที่ปฏิบัติราชการในโรงเรียน มีวันหยุดภาคเรียน หากได้หยุดราชการตามวันหยุดภาคการศึกษาเกิดกว่าลาพักผ่อน ไม่มีสิทธิลาพักผ่อนได้

การลาอุปสมบทหรือไปประกอบพิธีฮัทย์ให้ส่งใบลาขออนุญาตต่อเลขา กพฐ. ( ส่งใบลาให้ผอ.ร.ร.ก่อนไม่น้อยกว่า 60 วัน )ได้รับอนุญาตแล้วต้องอุปสมบทหรือออกเดินทาง ภายใน 10 วันกลับมารายงานตัวภายใน 5 วัน นับตั้งแต่ลาสิขา หรือเดินทางกลับถึงเมืองไทยลาบวชได้ไม่เกิน 120 วัน

การลาตรวจเลือก หรือเข้ารับการเตรียมพลคำว่าตรวจเลือก เรียกว่าคัดทหาร การลาตรวจเลือก ให้รายงานต่อผู้บังคับบัญชา ไม่น้อยกว่า 48 ชั่วโมง นับแต่ได้รับหมายเรียกโดยไม่ต้องรอคำสั่งอนุญาต ถ้าพ้นจากการตรวจเลือกจะต้องปฏิบัติราชการภายใน 7 วันเตรียมพล เมื่อได้รับใบแดงจะต้องแจ้งให้ผู้บังคับบัญชาทราบภายใน 48 ชั่วโมงออกจากทหาร ขอเข้ารับราชการภายใน 180 วันการลาศึกษา ฝึกอบรม ศึกษาปฏิบัติงานวิจัยผู้มีอำนาจอนุญาต คือ เลขา กพฐ. ( ในประเทศ มอบให้ ผอ.สพท. ต่างประเทศ เลขา กพฐ. )

การลาไปปฏิบัติงานในองค์กรระหว่างประเทศผู้มีอำนาจอนุญาตคือ รัฐมนตรีเจ้าสังกัด โดยไม่ได้รับเงินเดือน มี 2 ประเภท1. ประเภทที่ 1 ไม่เกิน 4 ปี- ประเทศไทยเป็นสมาชิก
- รัฐบาลมีข้อผูกพัน ตามข้อตกลงระหว่างประเทศ
- ส่งไปเพื่อรักษาผลประโยชน์ของประเทศ2. ประเภทที่ 2 ไม่เกิน 2 ปี
- รับราชการไม่น้อยกว่า 5 ปี ยกเว้น สหประชาชาติไม่น้อยกว่า 2 ปี
- อายุไม่เกิน 52 ปี และไม่เคยถูกลงโทษทางวินัยการลาติดตามคู่สมรสไปปฏิบัติงานต่างประเทศผู้อนุญาต คือ เลขา กพฐ. ลาได้ไม่เกิน 2 ปี ถ้าจำเป็นลาต่ออีกได้ 2 ปี รวมเวลา 4 ปี ถ้าเกินให้ลาออกผู้มีอำนาจอนุญาตในการลาผู้บริหารสถานศึกษา มีอำนาจอนุญาตการลาของผู้ใต้บังคับบัญชาดังนี้
- ลาป่วย ครั้งหนึ่งไม่เกิน 60 วันทำการ
- ลาคลอด ครั้งหนึ่งไม่เกิน 90 วันทำการ
- ลากิจส่วนตัว ครั้งหนึ่งไม่เกิน 30 วันทำการ


สรุปเกี่ยวกับการลาของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
การบริหารงานบุคคล วันนี้ ครูสุโขทัย ได้สรุปเกี่ยวกับการลาของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาให้กับผู้ที่มีความสนใจนะขอรับสรุปเกี่ยวกับการลาของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา1. การบังคับใช้1) ข้าราชการพลเรือน ข้าราชการครู ยกเว้นข้าราชการทหารและข้าราชการท้องถิ่น2) ให้ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีรักษาระเบียบนี้3) กรณีที่ไปช่วยราชการหากต้องการลาก็ขออนุญาตผู้บังคับบัญชาหน่วยงานที่ไปช่วยราชการแล้วให้ หน่วยงานนั้นแจ้งให้ต้นสังกัดทราบอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
2. การนับวันลา
1) ให้นับตามปีงบประมาณ
2) การนับวันลาที่นับเฉพาะวันทำการ
คือ - การลาป่วย ( ธรรมดา )
- การลากิจส่วนตัว
- การลาพักผ่อน
3) ข้าราชการที่ถูกเรียกกลับระหว่างลาให้ถือการลาหมดเขตเพียงวันก่อนเดินทางกลับและวันราชการ เริ่มนับตั้งแต่วันเดินทางกลับ

3. การลาครึ่งวันในการลาครึ่งวันในตอนเช้า หรือตอนบ่ายให้นับการลาเป็นครึ่งวันการลาให้ใช้ใบลาตามแบบ แต่กรณีจำเป็นหรือรีบด่วนจะใช้ใบลาตามวิธีอื่นก็ได้ แต่ต้องส่งใบลาตามแบบวันในวันแรกที่มาปฏิบัติราชการ
- ข้าราชการที่ประสงค์จะไปต่างประเทศระหว่างลา หรือวันหยุดราชการให้เสนอขออนุญาตต่อผู้บังคับบัญชาตามลำดับจนถึงอธิบดี ( เลขา กพฐ. )
- ข้าราชการส่วนภูมิภาค ขออนุญาตเดินทางไปต่างประเทศที่มีชายแดนติดต่อกับประเทศไทย ขออนุญาตต่อผู้ว่าราชการจังหวัดครั้งหนึ่งไม่เกิน 7 วัน หรือนายอำเภอไม่เกิน 3 วัน
- ข้าราชการผู้ใดไม่สามารถปฏิบัติงานราชการได้ เนื่องจากพฤติกรรมพิเศษ เช่น ฝนตกหนัก ถนนขาด ถูกจับเรียกค่าไถ่ โดยเกิดขึ้นกับบุคคลทั่วไป หรือพฤติกรรมที่เกิดขึ้นกับบุคคลนั้นไม่ได้เกิดจากความประมาทเลินเล่อจนเป็นเหตุขัดขวางไม่สามารถมาปฏิบัติราชการได้ให้รายงานต่อผู้บังคับบัญชาตามลำดับ จนถึงอธิบดี ( เลขา กพฐ. ) หรือผู้ว่าราชการจังหวัด
( สำหรับข้าราชการส่วนภูมิภาค)ทันทีที่มาปฏิบัติราชการได้ ถ้าอธิบดี พิจารณาว่าเป็นจริง ไม่นับเป็นวันลา ถ้าไม่จริงให้นับเป็นลากิจส่วนตัว********** ข้าราชการครูสังกัด สพฐ. เป็นข้าราชการส่วนกลาง***********

4. ประเภท ของการลามี 9 ประเภท ดังนี้
1. ลาป่วย
2. ลาคลอดบุตร
3. ลากิจส่วนตัว
4. ลาพักผ่อนประจำปี
5. ลาไปอุปสมบทหรือประกอบพิธีฮัทย์
6. ลาตรวจเลือกหรือเข้ารับการเตรียมพล
7. ลาศึกษาต่อ ศึกษาอบรมดูงาน หรือปฏิบัติงานวิจัย
8. ลาไปปฏิบัติงานในองค์กรระหว่างประเทศ
9. ลาติดตามคู่สมรสไปต่างประเทศ
ที่มาhttp://krusukhothai.blogspot.com/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น